คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
Faculty Of Information And Communication

วันที่ 7 ธันวาคม 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร เรืองนภากุล ทำหน้าที่ผู้ดำเนินรายการ โครงการสัมมนาวิชาการ “นวัตกรรม อาหาร และสุขภาพ”ณ ห้องประชุม IC 311 อาคาร 75 ปีแม่โจ้

โครงการสัมมนาวิชาการ “นวัตกรรม อาหาร และสุขภาพ” จัดสัมมนาทางวิชาการ ผ่านระบบ Video Conference และผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาวิชาการในครั้งนี้ จำนวน 180 คน วัตถุประสงค์ของงานเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษา วิจัยและพัฒนา นวัตกรรมด้านการเกษตร อาหาร สุขภาพและสิ่งแวดล้อม ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชนได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์ทางวิชาการ รวมทั้งเผยแพร่ผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมสู่สาธารณะในรูปแบบของการบรรยายและการสัมมนาผลงานวิจัยและบริการวิชาการ ขยายเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างสถาบันการศึกษา วิจัยและพัฒนางานวิจัยเพื่อสร้างประโยชน์เชิงพาณิชย์ และสาธารณะ สร้าง Platform แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมให้สร้างประโยชน์ที่เกิดผลลัพธ์และผลกระทบที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากทีมงานนักศึกษาคณะสารสนเทศและการสื่อสารในการดูแลควบคุมเรื่องถ่ายทอดสดผ่านระบบออนไลน์ตลอดทั้งงาน

ปรับปรุงข้อมูล : 9/12/2565 15:55:29     ที่มา : คณะสารสนเทศและการสื่อสาร     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 292

กลุ่มข่าวสาร :

ข่าวล่าสุด

คณะสารสนเทศและการสื่อสาร จัดโครงการจัดการความรู้ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ปีงบประมาณ 2567 กิจกรรม : ทักษะและเทคนิคการให้คำปรึกษา (สายวิชาการ)
เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2567 คณะสารสนเทศและการสื่อสาร จัดโครงการจัดการความรู้ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ปีงบประมาณ 2567 กิจกรรม : ทักษะและเทคนิคการให้คำปรึกษา (สายวิชาการ) โดยมี นางปนัดดา ธีระเชื้อ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลสันทราย เป็นวิทยากรมาให้ความรู้ แก่คณาจารย์ และบุคลากรคณะสารสนเทซศและการสื่อสาร นอกจากนี้ยังมีตัวแทนจากหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในส่วนงานกองพัฒนานักศึกษา นางรุ่งนภา รินคำ ตำแหน่ง หัวหน้างานทุนการศึกษาและให้คำปรึกษา และนางสาวกชสร จินดารัตน์ ตำแหน่ง นักแนะแนวการศึกษาและอาชีพ มาร่วมแลกเปลี่ยนกับคณาจารย์ อีกด้วย
4 เมษายน 2567     |      256
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับ รายการสถานีฝุ่น จัดกิจกรรม เวทีเสวนา หัวข้อ "อยู่ให้รอดปลอดจากฝุ่น PM 2.5" ครั้งที่ 2 ผ่านระบบออนไลน์
#สถานีฝุ่นลุ่มน้ำโขง คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับ รายการสถานีฝุ่น จัดกิจกรรม เวทีเสวนา  หัวข้อ  "อยู่ให้รอดปลอดจากฝุ่น PM 2.5"  ผ่านระบบออนไลน์เมื่อวันอังคารที่ 2 เมษายน 2567 คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับ รายการสถานีฝุ่น  ภายใต้ความร่วมมือกันของสถาบันการศึกษาในพื้นที่ภาคเหนือ,สสส. และไทยพีบีเอส จัดกิจกรรม เวทีเสวนา  หัวข้อ  "อยู่ให้รอดปลอดจากฝุ่น PM 2.5"  ผ่านระบบออนไลน์  ครั้งที่ 2 โดยมีผู้ร่วมเสวนา คือ นายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่,รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรัตน์  ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้,รศ.ดร.สมเกียรติ ชัยพิบูลย์ คณบดีคณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้/ หัวหน้าโครงการธรรมชาติปลอดภัย แม่แจ่ม:แม่ปาน-สันเกี๋ยง โมเดล,นายวิโรจน์ หมอกใหม่ ผู้ใหญ่บ้านสันเกี๋ยง หมู่ 10 ตำบลช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม / ทีมปฏิบัติการป้องกัน แก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า และฝุ่นละออง PM 2.5 ตำบลช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม,นายบุญมา ฟองตา ผู้ใหญ่บ้านแม่ปาน หมู่ 9 ตำบลช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม / ทีมปฏิบัติการป้องกัน แก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า และฝุ่นละออง PM 2.5 ตำบลช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม,ดร.พร้อมพล สัมพันธโน นายกสมาคมปกาเกอะญอเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม (ป.พล.),นายแพทย์ประจินต์ เหล่าเที่ยง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสะเมิง,พลเอกวินัย ทันศรี ผู้เชี่ยวชาญศาสตร์พระราชา วุฒิอาสาธนาคารสมองสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อดีตเจ้ากรมสื่อสาร กองบัญชาการทหารสูงสุด และนายภุชงค์ อินสมพันธ์ ตำแหน่ง อนุคณะกรรมการ คทช.จังหวัดเชียงใหม่ และ อนุคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทำลายทรัพยากรป่าไม้จังหวัดเชียงใหม่และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กริ่งกาญจน์  เจริญกุล  รองคณบดีฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพการศึกษา เป็นผู้ดำเนินรายการ ถ่ายทอดสดผ่านระบบออนไลน์ทาง เพจรายการสถานีฝุ่น และ youtube/dust station ถ่ายทอดสดจากห้องStudio คณะสารสนเทศและการสื่อสาร และสายตรงจากพื้นที่ อ.แม่แจ่ม เชียงใหม่#สถานีฝุ่น#เพราะเรามีลมหายใจเดียวกัน
4 เมษายน 2567     |      701
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับ รายการสถานีฝุ่น จัดกิจกรรม เวทีเสวนา หัวข้อ "อยู่ให้รอดปลอดจากฝุ่น PM 2.5" ผ่านระบบออนไลน์
เมื่อวันพุธที่ 27 มีนาคม 2567 คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับ รายการสถานีฝุ่น  ภายใต้ความร่วมมือกันของสถาบันการศึกษาในพื้นที่ภาคเหนือ,สสส. และไทยพีบีเอส จัดกิจกรรม เวทีเสวนา  หัวข้อ  "อยู่ให้รอดปลอดจากฝุ่น PM 2.5"  ผ่านระบบออนไลน์ โดยมีผู้ร่วมเสวนา คือ รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ ชัยพิบูลย์ ,รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรัตน์  ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้,นายเจริญ คำปินใจ  กำนันตำบลหนองหาร อ.สันทราย  ทีมปฏิบัติการป้องกัน แก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า และฝุ่นละออง PM 2.5 ตำบลหนองหาร,นายอำพล ใต้เงาสน  อาสาสมัครดับไฟป่าพื้นที่ อ.ฝาง ,นายสุริยา  บุญโชติ   ตำแหน่ง ที่ปรึกษานายก อบต.โป่งแยง  และประธานการท่องเที่ยวโป่งแยง  ทีมปฏิบัติการป้องกัน แก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า และฝุ่นละออง PM 2.5 ตำบลโป่งแยง  อ.แม่ริม และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กริ่งกาญจน์  เจริญกุล  รองคณบดีฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพการศึกษา เป็นผู้ดำเนินรายการ ณ ห้องสตูดิโอโทรทัศน์ ชั้น 1 อาคาร 75 ปีแม่โจ้ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ถ่ายทอดสดผ่านระบบออนไลน์ทาง เพจรายการสถานีฝุ่น และ youtube/dust station
28 มีนาคม 2567     |      858
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร จัดโครงการปัจฉิมนิเทศสหกิจ และโครงการปัจฉิมนิเทศนักศึกษาระดับปริญญาตรี ขั้นปีที่ 4 คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ประจําปีการศึกษา 2566
เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2567 คณะสารสนเทศและการสื่อสาร จัดโครงการปัจฉิมนิเทศสหกิจ และโครงการปัจฉิมนิเทศนักศึกษาระดับปริญญาตรี ขั้นปีที่ 4 คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ประจําปีการศึกษา 2566 ณ ห้องประชุม IC311 ชััน 3 อาคาร 75 ปีแม่โจ้  โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ ชัยพิบูลย์ คณบดีคณะสารสนเทศและการสื่อสารกล่าวเปิดโครงการฯ และให้โอวาทนักศึกษา  และมีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากรุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพด้านการสื่อสารดิจิทัล  มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ คุณปรัชญา เขื่อนแก้ว บรรยายในหัวข้อ การเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่โลกแห่งอาชีพในยุคดิจิทัล และ คุณภาคภูมิ ปรีชาถาวร บรรยายในหัวข้อการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่โลกแห่งอาชีพในยุคดิจิทัล (ด้านโปรดักชัน) การจัดโครงการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่นักศึกษาในการเข้าสู่โลกแห่งอาชีพ และกระตุ้นให้นักศึกษาที่กำลังจะสำเร็จการศึกษามีจิตสำนึกที่ดีต่อการประกอบอาชีพอย่าง มีจรรยาบรรณ และพร้อมที่จะรับใช้สังคมต่อไป
27 มีนาคม 2567     |      446