คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
Faculty Of Information And Communication
รองคณบดีคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมทีม ม.แม่โจ้ อบรมการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยแห่งการประกอบการ โดย สอวช.และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รองศาสตราจารย์ ดร. ชัยยศ สัมฤทธิ์สกุล รักษาการแทนรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วย นางสิริลักษณ์ ศรีสวัสดิ์ ผู้อำนวยการกองแผนงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตร และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร เรืองนภากุล รองคณบดีฝ่ายวิจัย บริการวิชาการ และวิเทศสัมพันธ์ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้จัดการแผนงานพิเศษย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ (Maejo Agri-Food Innovation District) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ U-ENTRE การขับเคลื่อนของมหาวิทยาลัยสู่มหาวิทยาลัยแห่งการประกอบการ (Navigating The Entrepreneurial University) เมื่อวันที่ 28-29 กุมภาพันธ์ 2567 ณ โรงแรมปริ้นเซสปทุมวัน กรุงเทพฯ และ 6-7 มีนาคม 2567 ณ โรงแรมไอบิส สยาม กรุงเทพ ซึ่งเป็นหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดและหลักการของมหาวิทยาลัยแห่งการประกอบการเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืน กิจกรรมและกลยุทธ์เพื่อการปลูกฝังความคิดของการเป็นผู้ประกอบการ การสอนและวิจัยสมัยใหม่เพื่อการสร้างงาน  การพัฒนายุทธศาสตร์และระบบนิเวศนวัตกรรมในมหาวิทยาลัย  รวมถึงเรียนรู้กรณีศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก หลักสูตรดังกล่าวจัดโดย สอวช. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Innoloop 
9 มีนาคม 2567     |      223
ขอแสดงความยินดีกับทีมแสงเหนือ นักศึกษาคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ผ่านเข้ารอบสุดท้ายการแข่งขันชนช้างกราฟิกดีไซน์ ปีที่ 9
ขอแสดงความยินดีกับทีมแสงเหนือ นักศึกษาคณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ได้เข้ารอบ 10 ทีมสุดท้ายจากผู้สมัครทั่วประเทศ ในการแข่งขันชนช้างกราฟิกดีไซน์ ปีที่ 9 เพื่อเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพนักออกแบบรุ่นใหม่ ซึ่งจัดโดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม โดยเปิดรับสมัคร ทั้งนิสิตหรือนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 2-4 สาขาวิชาเรขศิลป์ ออกแบบนิเทศศิลป์ ออกแบบผลิตภัณฑ์ นฤมิตศิลป์ ครุศิลป์ หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพนักออกแบบรุ่นใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และการผลิตรายการชนช้างกราฟิก ปีที่ 9 ในรูปแบบการแข่งขันทักษะด้านศิลปะร่วมสมัย สาขาเรขศิลป์ เพื่อพัฒนาการออกแบบเรขศิลป์ (Graphic Design) ให้แก่นักออกแบบรุ่นใหม่ นำไปพัฒนาทักษะและประสบการณ์การออกแบบที่เน้นการสร้างการเรียนรู้ระหว่างนักออกแบบและชุมชน เพื่อสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบที่ช่วยเสริมสร้างอัตลักษณ์และมูลค่าเพิ่มกับให้สินค้าและบริการ ซึ่งชุมชนสามารถนำไปใช้ได้จริง ในการแข่งขันชนช้างกราฟิกดีไซน์ครั้งนี้ ทีมแสงเหนือ ม.แม่โจ้ 1 ในผู้เข้ารอบ ประกอบด้วย นางสาวอภิษฎา อินตา, นายพัทธดนย์ ชุนนะวรรณ์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์พิริยะ กาญจนคงคา (อาจารย์ที่ปรึกษา) ได้เข้านำเสนอผลงานด้วยตนเองและผ่านระบบออนไลน์จำนวน 25 ทีม ซึ่งมาจากทั่วทุกภาคของประเทศ โดยมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบ ได้แก่ นายไพโรจน์ ธีระประภา ศิลปินศิลปาธร สาขาเรขศิลป์ ปี 2557 ประธานคณะกรรมการตัดสิน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธีรวัฒน์ พจน์วิบูลศิริ นักออกแบบตัวอักษร อาจารย์ประจำภาควิชานิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร รองศาสตราจารย์ อาวิน อินทรังษี รองคณบดี ฝ่ายกิจการพิเศษ ภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิสิทธิ์ โพธิวัฒน์ อาจารย์สาขาวิชา ครีเอทีฟกราฟิก มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และนายวีรภัทร สุธรางกูร ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม พร้อมด้วยนางสาวสมลักษณ์ คล่องแคล่ว ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านส่งเสริมงานวิจิตรศิลป์ (ทัศนศิลป์) สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และนายสุทธิศักดิ์ กลิ่นแก้วณรงค์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ ร่วมเป็นคณะกรรมการ ทั้งนี้ 10 ทีมที่เข้ารอบ จะเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการระหว่างวันที่ 14 - 15 มีนาคม 2567 และวันที่ 24 มีนาคม 2567 และจะคัดเลือกเหลือ 5 ทีมสุดท้ายที่จะเข้าร่วมแข่งขันในรายการชนช้างกราฟิก ปีที่ 9 ต่อไป
8 มีนาคม 2567     |      626
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้ารับการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว ประจำปี 2566
เมื่อวันที่พุธที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้ารับการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว ประจำปี 2566 โดยมีผู้บริหาร บุคลากร ของคณะเข้าร่วมการประเมิน ณ ห้องประชุม IC103 อาคาร 75ปีแม่โจ้ ในรูปแบบ Online โดยมีการตอบข้อซักถาม ความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ จากผู้รับผิดชอบแต่ละหมวดทั้ง 6 หมวด และมีการสุ่มสัมภาษณ์บุคลากร รวมทั้งเข้าดูพื้นที่จริงพร้อมทั้งรับฟังข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการตรวจประเมิน เพื่อนำมาพัฒนา ปรับปรุง แก้ไข ให้บรรลุวัตถุประสงค์การเป็นสำนักงานสีเขียวของคณะ ต่อไป
29 กุมภาพันธ์ 2567     |      403
หนังสั้นสัตตภัณฑ์ (Sattapan) ของ Film Space ร่วมกับอาจารย์ ศิษย์เก่าและนักศึกษาคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ในโอกาสที่ได้รับรางวัล Bronze Award จากเทศกาลภาพยนตร์หนังเหนือสู่หนังโลก
คณะสารสนเทศและการสื่อสารขอแสดงความยินดีกับภาพยนตร์สั้น เรื่องสัตตภัณฑ์ (Sattapan) โดย Film Space ร่วมกับอาจารย์ ศิษย์เก่าและนักศึกษาคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ในโอกาสที่ได้รับรางวัล Bronze Award จากเทศกาลภาพยนตร์หนังเหนือสู่หนังโลก  เมื่อวันที่ 25 ก.พ.2567 ที่อาคารศูนย์นวัตกรรมการสื่อสาร (CIC) คณะการสื่อสารมวลชน มช. ภาพยนตร์สั้นเรื่องสัตตภัณฑ์ (Sattapan) ได้รับคัดเลือกจากโครงการวิจัยและพัฒนายกระดับการสร้างภาพยนตร์ไทยสู่ตลาดโลกและพัฒนากำลังคนที่เชี่ยวชาญระดับสากล โดยภาพยนตร์เรื่องสัตตภัณฑ์ เป็นหนึ่งใน 5 เรื่องที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณการถ่ายทำจากทางโครงการฯ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์กริ่งกาญจน์ เจริญกุล รองคณบดีฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพการศึกษา เป็นโปรดิวเซอร์ อ.เชวง ไชยวรรณ อ.พิเศษร่วมสอนในรายวิชาการผลิตภาพยนตร์ดิจิทัล เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ พร้อมด้วยทีมงานมืออาชีพจาก Film Space โดยมีศิษย์เก่า และนักศึกษาคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมเป็นทีมงานถ่ายทำ และขอแสดงความยินดีกับภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลทั้ง 5 เรื่องได้แก่ Gold Award เรื่องคีตาไชยะ (Keetachiya) Silver Award เรื่องอุบัติชีวิต พิชิตรถแดง (Quantum Red Car) Bronze Award เรื่องสัตตภัณฑ์ (Sattapan) Honorable Mention Award เรื่องภวังค์จิต (The Illusion) และลำบ่ลืม (An Eternal Flavor) ผลงานที่ได้รับรางวัลทางโครงการฯ จะผลักดันให้นำไปฉายในเทศกาลภาพยนตร์ระดับนานาชาติต่อไป ตามแนวคิด “Rising Multiculture from Local to Global” #GoldenNorthFilmFestival #GNFF2024 #MassCommCMU #CICCMU #FilmSpace #คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
27 กุมภาพันธ์ 2567     |      643
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การผลิตข่าว การนำเสนอข่าว และภาพยนตร์สารคดี โ
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567รองศาสตราจารย์ ดร. สมเกียรติ ชัยพิบูลย์ คณบดีคณะสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การผลิตข่าว การนำเสนอข่าว และภาพยนตร์สารคดี โดยได้รับเกียรติจาก คุณรัตพล อ่อนสนิท หัวหน้าภาคภาษาไทย VOICE OF AMERICA เป็นวิทยากรบรรยาย ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตข่าว การนำเสนอข่าว และภาพยนตร์สารคดี ให้กับนักศึกษาสาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล คณะสารสนเทศและการสื่อสาร และนักศึกษาสาขานิเทศบูรณาการ คณะศิลปศาสตร์ เพื่อพัฒนาทักษะหลักสูตรด้านการสื่อสารดิจิทัล การสื่อสารมวลชน ด้านนิเทศศาสตร์ ของนักศึกษาให้มีความเป็นมืออาชีพในระดับนานาชาติต่อไป ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้น ณ ห้องประชุม 301 อาคาร 75ปี แม่โจ้ ทั้งนี้นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ทั้งสองคณะให้ความสนใจเป็นอย่างมากในการเข้าร่วมและได้มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การผลิตข่าว การนำและเสนอข่าวภาพยนต์สารคดี ในระดับนานาชาติ
27 กุมภาพันธ์ 2567     |      430
สโมสรนักศึกษาคณะสารสนเทศและการสื่อสาร และนักศึกษาสาขาวิชาการสื่อสารดิจิท้ล เข้าร่วมการแข่งขัน กีฬาแม่โจ้สัมพันธ์ ครั้งที่48 “รวงข้าวเกมส์”
สโมสรนักศึกษาคณะสารสนเทศและการสื่อสาร และนักศึกษาสาขาวิชาการสื่อสารดิจิท้ล เข้าร่วมการแข่งขัน กีฬาแม่โจ้สัมพันธ์ ครั้งที่48 “รวงข้าวเกมส์”   โดยกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อส่งเสริมด้านกีฬาและสุขภาพ ด้านศิลปวัฒนธรรม และพัฒนาสายสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาภายในคณะ และต่างคณะ ในมหาวิทยาลัย กิจกกรรมดังกล่าวจัดขึ้น เมื่อวันเสาร์ ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 ณ สนามอินทนิล มหาวิทยาลัยแม่โจ้
27 กุมภาพันธ์ 2567     |      46
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับ VOICE OF AMERICA (VOA) ภาคภาษาไทย ประจำกรุงวอชิงตัน จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การผลิตข่าว การนำเสนอข่าว และภาพยนตร์สารคดี
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 รองศาสตราจารย์ ดร. สมเกียรติ ชัยพิบูลย์ คณบดีคณะสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การผลิตข่าว การนำเสนอข่าว และภาพยนตร์สารคดี โดยได้รับเกียรติจาก คุณรัตพล อ่อนสนิท หัวหน้าภาคภาษาไทย VOICE OF AMERICA เป็นวิทยากรบรรยาย ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตข่าว การนำเสนอข่าว และภาพยนตร์สารคดี ให้กับนักศึกษาสาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล คณะสารสนเทศและการสื่อสาร และนักศึกษาสาขานิเทศบูรณาการ คณะศิลปศาสตร์ เพื่อพัฒนาทักษะหลักสูตรด้านการสื่อสารดิจิทัล การสื่อสารมวลชน ด้านนิเทศศาสตร์ ของนักศึกษาให้มีความเป็นมืออาชีพในระดับนานาชาติต่อไป ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้น ณ ห้องประชุม 301 อาคาร 75ปี แม่โจ้ ทั้งนี้นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ทั้งสองคณะให้ความสนใจเป็นอย่างมากในการเข้าร่วมและได้มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การผลิตข่าว การนำและเสนอข่าวภาพยนต์สารคดี ในระดับนานาชาติ
27 กุมภาพันธ์ 2567     |      44
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมงานมหกรรมรวมพลคนหลังกำแพง “ราชทัณฑ์แก้ไข คนไทยให้โอกาส” .
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมงานมหกรรมรวมพลคนหลังกำแพง “ราชทัณฑ์แก้ไข คนไทยให้โอกาส” กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม จัดงาน มหกรรมรวมพลคนหลังกำแพง ภายใต้แนวคิด “ราชทัณฑ์แก้ไข คนไทยให้โอกาส” ในวันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 10.00 – 20.00 นาฬิกา ณ ศูนย์การค้า เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ชั้น G ลาน Avenue โซน A โดยมี พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในการเปิดโครงการ พร้อมร่วมเวทีเสวนาพิเศษ ในประเด็นความท้าทายในการสร้างการยอมรับผู้พ้นโทษ  ภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย ได้แก่-เวทีเสวนาพิเศษ ความท้าทายในการสร้างการยอมรับผู้พ้นโทษ ภายใต้แนวโดยคิด “ราชทัณฑ์แก้ไข คนไทยให้โอกาส” โดยมีพันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วย นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ดร.นัทธี จิตสว่าง ที่ปรึกษาสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย นางนวลพรรณ ล่ำซำ ประธานกรรมการมูลนิธิมาดามแป้ง และ CEO บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) อาจารย์วุฒิชัย วงศ์จิโรจน์ ประธานมูลนิธิบ้านพระพร และนายวรยศ บุญทองนุ่ม (แพท พาวเวอร์แพท) โดยมีนายมาฬิศร์ เชยโสภณ เป็นผู้ดำเนินการเวทีเสวนา-บูธคนหลังกำแพง ที่ออกไปประกอบอาชีพต่างๆ มาแสดงผลงานในอาชีพที่หลากหลาย ทั้งในด้านศิลปะ การแสดง อาชีพอิสระ เจ้าของกิจการ จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม  -บูธหน่วยงานภาคีเครือข่าย ที่เข้ามาช่วยเหลือภารกิจด้านการแก้ไขพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง อาทิ บริษัท เนสเล่ (ไทย) จำกัด มูลนิธิมาดามแป้ง บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) มูลนิธิบ้านพระพร รายการอร่อยเลิศกับคุณหรีด สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ฯลฯ - บูธร้านหับเผย จำหน่ายผลิตภัณฑ์ฝีมือผู้ต้องขังและการแสดงความสามารถจากผู้ต้องขังของเรือนจำและทัณฑสถานต่างๆ เป็นต้น
23 กุมภาพันธ์ 2567     |      119
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร จับมือ Google News Initiative โคแฟค(ประเทศไทย) และ สสส. จัดอบรมรู้เท่าทันข้อมูลยุคเอไอ
เมื่อวันพุธ ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ ชัยพิบูลย์ คณบดีคณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มอบหมายให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร เรืองนภากุล รองคณบดีฝ่ายวิจัย บริการวิชาการ และวิเทศสัมพันธ์ เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการโคแฟคเสริมพลังพลเมืองเพื่อสังคมสุขภาวะยุคดิจิทัล: โคแฟคแสงเหนือรู้ทันข้อมูลยุคเอไอ จัดโดย Google News Initiative โคแฟค(ประเทศไทย) และ สสส. ร่วมกับ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ณ ห้องอาคม กาญจนประโชติ อาคารอำนวย ยศสุข มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีนักศึกษา สาขาการสื่อสารดิจิทัล คณะสารสนเทศและการสื่อสาร และคณะอื่นๆ เข้าร่วมกว่า 400 คน กิจกรรมดังกล่าว มีคุณธนภณ เรามานะชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบข้อมูล ได้แนะนำรูปแบบของข่าวลวงและข้อมูลบิดเบือนที่เกิดจากมนุษย์และเกิดจากการใช้ AI สร้าง เพื่อให้นักศึกษารู้เท่าทัน รวมถึงแพลตฟอร์มดิจิทัลในการค้นหาข้อมูล เช่น Bard, Gemini Pro และ SynthID นอกจากนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร เรืองนภากุล ยังได้ร่วมเป็นวิทยากรในการฝึกการเช็คข่าวโดยการใช้ไลน์แชทบอท @cofact เพื่อเช็คข้อมูลข่าวลวงได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
22 กุมภาพันธ์ 2567     |      198
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดประชุมติดตามโครงการของนักวิจัยในจังหวัดเชียงใหม่ที่ได้รับทุน บพค
เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 รองศาตราจารย์ ดร. สมเกียรติ ชัยพิบูลย์ คณบดีคณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้การต้อนรับศาสตราจารย์ ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ในโอกาสที่มา การบรรยายหัวข้อ แนวทางการสนับสนุนทุนวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เกษตรศาสตร์ และสังคมศาสตร์เพื่อพัฒนากำลังคนและขีดความสามารถของประเทศ ให้กับบุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมอบหมายให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร เรืองนภากุล รองคณบดีฝ่ายวิจัย บริการวิชาการ และวิเทศสัมพันธ์ เข้าร่วมกิจกรรมในการนี้ คณะสารสนเทศและการสื่อสารได้อำนวยความสะดวก ในการจัดประชุมติดตามโครงการของนักวิจัยในจังหวัดเชียงใหม่ที่ได้รับทุน บพค. ณ ห้องประชุม 103 คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในวันดังกล่าว
10 กุมภาพันธ์ 2567     |      212
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการ สหกิจศึกษา การวิจัย และการให้บริการวิชาการของบุคลากรและนักศึกษา กับ บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด ด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
วันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567 ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง คณะสารสนเทศและการสื่อสาร โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ ชัยพิบูลย์ (คณบดี) และคณะศิลปะศาสตร์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนาพร ขันธบุตร (คณบดี) พร้อมด้วย คณะวิทยาศาสตร์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปน ชื่นบาล (คณบดี) เป็นสักขีพยานกับ บริษัทน้ำตาลมิตรผล จำกัด และบริษัทในเครือ โดย คุณกิจพัฒน์ ตระกูลเมฆี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ กลุ่มงานทรัพยากรบุคคล บริษัทน้ำตาลมิตรผล จำกัดพร้อมด้วย และคุณไพฑูรย์ ประภาถะโร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานบริหารและสนับสนุนกลุ่มงานอ้อย บริษัทน้ำตาลมิตรผล จำกัดซึ่งการลงนามฯ ดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อประสานความร่วมมือทางด้านวิชาการ สหกิจศึกษา การวิจัย และการให้บริการวิชาการของบุคลากรและนักศึกษา ภายใต้การถ่ายทอดความรู้ จากสถานการณ์จริงในสถานประกอบการของบริษัท รวมถึงเพื่อสร้างเครือข่ายและบูรณาการกิจกรรมร่วมกันตามพันธกิจของแต่ละฝ่าย ณ บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด ด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
8 กุมภาพันธ์ 2567     |      402
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการวิชาการการอบรมพัฒนาทักษะดิจิทัล
เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร เรืองนภากุล รองคณบดีฝ่ายวิจัย บริการวิชาการ และวิเทศสัมพันธ์ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นวิทยากรในโครงการอบรมเพิ่มความรู้ด้านทักษะดิจิทัล ประจำปี 2567 ให้แก่นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในหัวข้อ Digital Literacy, สมรรถนะทักษะดิจิทัล (Digital Intelligence) กับการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN SDGs) 17 ประการ และการใช้ Chat GPT เพื่อการศึกษาและการสร้างภาพประกอบอัตโนมัติ ณ ห้อง 304 คณะเศรษฐศาสตร์ และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
8 กุมภาพันธ์ 2567     |      494
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการ สหกิจศึกษา การวิจัย และการให้บริการวิชาการของบุคลากรและนักศึกษา กับ บริษัทกรีนแวลลู จำกัด
วันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567 ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง คณะสารสนเทศและการสื่อสาร โดย รองศาสตราจารย์ ดร. สมเกียรติ ชัยพิบูลย์ (คณบดี) และคณะผลิตกรรมการเกษตร โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์ เครือคำ (คณบดี) พร้อมด้วย คณะศิลปะศาสตร์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนาพร ขันธบุตร (คณบดี) เป็นสักขีพยานกับ บริษัทกรีนแวลลู จำกัด โดยคุณไพฑูรย์ เบ้าลี กรรมการผู้จัดการบริษัทกรีนแวลลู จำกัด และคุณวินัย เบ้าลี ผู้จัดการทั่วไป บริษัทกรีนแวลลู จำกัด ซึ่งการลงนามฯ ดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อประสานความร่วมมือทางด้านวิชาการ สหกิจศึกษา การวิจัย และการให้บริการวิชาการของบุคลากรและนักศึกษา ภายใต้การถ่ายทอดความรู้ จากสถานการณ์จริงในสถานประกอบการของบริษัท รวมถึงเพื่อสร้างเครือข่ายและบูรณาการกิจกรรมร่วมกันตามพันธกิจของแต่ละฝ่าย ณ บริษัท กรีนแวลลู จำกัด จังหวัดปทุมธานี
8 กุมภาพันธ์ 2567     |      250
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร เยี่ยมชมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านการบริหารจัดการองค์การ การจัดการเรียนการสอนและหลักสูตร คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม 2566 #คณะสารสนเทศและการสื่อสาร#มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ ชัยพิบูลย์ คณบดี นำคณะผู้บริหาร และหัวหน้างาน เข้าเยี่ยมชมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านการบริหารจัดการองค์การ การจัดการเรียนการสอนและหลักสูตร รวมถึงห้องปฏิบัติการ และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในด้านต่างๆ ณ คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต (การสื่อสารสื่อใหม่) มหาวิทยาลัยพะเยา
8 กุมภาพันธ์ 2567     |      86
ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิริยะ กาญจนคงคา ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดออกแบบมาสคอต “Thailand Pavilion Expo 2025 Mascot and Costume Design Contest”
ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิริยะ กาญจนคงคา รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและกิจการพิเศษ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดออกแบบมาสคอต “Thailand Pavilion Expo 2025 Mascot and Costume Design Contest” จากผลงาน “น้องภูมิใจ” ซึ่งจัดโดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข โดย mascot ดังกล่าวจะได้นำไปแสดงใน นิทรรศการไทย “World Expo 2025 Osaka Kansai” ซึ่งจัดขึ้น ณ นครโอซากา ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 13 เมษายน – 13 ตุลาคม 2568 เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและ Soft Power รวมถึง ความพร้อมในการเป็นหมุดหมายด้านสุขภาพโลก ที่จะสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศไทย เพื่อให้เกิดอัตลักษณ์ การรับรู้ จดจำ ถึงภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยในการร่วมงานฯ ออกไปสู่สายตาชาวโลก
25 มกราคม 2567     |      665
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ม.แม่โจ้ ร่วมขับเคลื่อนการรู้เท่าทันดิจิทัล ในงาน Digital Thinkers Forum เวทีนักคิดดิจิทัลครั้งที่ 26
     เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร เรืองนภากุล รองคณบดีฝ่ายวิจัย บริการวิชาการ และวิเทศสัมพันธ์ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ร่วมดำเนินรายการในงาน Digital Thinkers Forum เวทีนักคิดดิจิทัล ครั้งที่ 26 ในประเด็น "เราจะใช้ AI อย่างไรให้สร้างสรรค์และปลอดภัย"  เพื่อความฉลาดเท่าทันในยุคดิจิทัล พร้อมกับเครือข่ายนักคิดดิจิทัลเพื่อสังคมจากองค์กรระดับประเทศและนานาชาติ  เช่น SCBx, กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.), Cofact(ประเทศไทย), สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ, สภาองค์กรของผู้บริโภค, Ztrus,  Thai PBS, สถาบัน change fusion, Friedrich Naumann Foundation for Freedom, The Centre for Humanitarian Dialogue (HD), มายด์ เอไอ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เครือข่ายพลเมืองสร้างสรรค์สังคม (Creative Citizen), TikTok Thailand ที่ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง ข้อมูล เทรนด์ และกิจกรรม เกี่ยวกับใช้ Generative Artificial Intelligence (Generative AI) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ที่ออกแบบมาให้สามารถสร้างเนื้อหาใหม่ๆ ที่คล้ายกับที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นในวงการสื่อสารทั้งในและต่างประเทศ ณ SCBx NEXT TECH ชั้น 4 สยามพารากอน และถ่ายทอดสดผ่านช่อง Thai PBS ทาง Facebook และ Youtube
19 มกราคม 2567     |      758
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมพิธีวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประจำปี 2567
วันพุธที่ 17 มกราคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิริยะ กาญจนคงคา รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและกิจการพิเศษ พร้อมด้วยบุคลากร และนักศึกษาคณะฯ เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมพิธีวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประจำปี 2567 ที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดขึ้น โดยมี นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นำคณะผู้บริหารจังหวัดฯ ส่วนราชการ และประชาชนชาวเชียงใหม่ ร่วมพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะ พร้อมกล่าวคำถวายราชสดุดี เบื้องหน้าพระบรมสาทิสลักษณ์ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เนื่องในวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประจำปี 2567 เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยโดยตลอดรัชสมัยแห่งการครองราชย์ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงเป็นนักการทหาร นักปกครอง นักการทูต และนักปราชญ์ที่กล้าหาญ ชาญชลาด ทรงประดิษฐ์อักษรไทยหรือสายสือไทย อันเป็นต้นกำเนิดของอักษรไทยที่ใช้กันในทุกวันนี้ อีกทั้งพระองค์ยังได้ร่วมกับพระสหายสนิทร่วมน้ำสาบาน คือ พญามังราย และพญางำเมือง ในการพิจารณาทำเลที่ตั้งอันอุดมสมบูรณ์สำหรับสร้างเมืองเชียงใหม่ เพื่อเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนา  ซึ่งเป็นการวางรากฐานแห่งความเจริญไว้ให้แก่ประเทศชาติ และเป็นคุณประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อปวงชนชาวไทย
17 มกราคม 2567     |      88
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมการประชุมรับฟังความก้าวหน้าของการจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้งคัมพานี และโปรแกรมสนับสนุนงานวิจัยในรูปแบบ startup & spinoff
       เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร เรืองนภากุลรองคณบดีฝ่ายวิจัย บริการวิชาการ และวิเทศสัมพันธ์ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร  และผู้จัดการแผนงานพิเศษย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ (Maejo AgriFood Innovation DistrictMAID) และแผนงานพิเศษเมืองนวัตกรรมอาหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (Food Innopolis @ Maejo University) ร่วมให้ข้อมูลโปรแกรมบ่มเพาะของย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ และโปรแกรม Forefood Tech Scout ของ Food Innopolis  ปี 2567 ในการประชุมรับฟังความก้าวหน้าของการจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้งคัมพานี และโปรแกรมสนับสนุนงานวิจัยในรูปแบบ startup & spinoff  ภายใต้โปรแกรมบ่มเพาะ (Incubation) และเร่งรัด (Acceleration) การเป็นผู้ประกอบการ          โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยยศ สัมฤทธิ์สกุล ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานและบรรยายเส้นทางการจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้งคัมพานีของมหาวิทยาลัย ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนการหารายได้ สร้างความมั่นคงยั่งยืนของมหาวิทยาลัยและเสริมความคล่องตัวในการขับเคลื่อนงานวิจัยเชิงพาณิชย์ ซึ่งมีอาจารย์ นักวิจัยและนักศึกษาจากหลากหลายคณะให้ความสนใจร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการพัฒนากลไกดังกล่าว ทั้งนี้ทีมของ Food Innopolis จาก สวทช. จะได้เดินทางมาให้ข้อมูลโปรแกรม Forefood Tech Scout ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในวันที่ 30 มกราคม 2567 นี้
16 มกราคม 2567     |      168
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร เข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขัน กีฬาบุคลากร ประจำปี 2566
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร เข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันกีฬาบุคลากร ประจำปี 2566 วันพุธที่ 27 ธันวาคม 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร เรืองนภากุล รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะสารสนเทศและการสื่อสารพร้อมด้วยบุคลากรคณะสารสนเทศและการสื่อสารเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันกีฬา ประจำปี 2566 จัดโดยสโมสรบุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กิจกรรมการแข่งขันกีฬาบุคลากร มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรในมหาวิทยาลัยได้ออกกำลังกาย มีสุขภาพดี แข็งแรง สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ อันจะเป็นพลังสำคัญต่อการทำงานและพัฒนามหาวิทยาลัยให้ไปสู่เป้าหมาย
4 มกราคม 2567     |      402
10 หน่วยงานเครือข่ายนวัตกรรมในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมประชุมเครือข่ายนวัตกรรมพื้นที่ภาคเหนือ
 ผศ.ดร.ณภัทร เรืองนภากุล รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร /ผู้จัดการแผนงานพิเศษย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ พร้อมด้วย อ.ดร.กัลย์ กัลยาณมิตร ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร และ รศ.ดร.ดวงพร อมรเลิศพิศาล หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางการเกษตรสำหรับบัณฑิตผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยเเม่โจ้  ร่วมประชุมเครือข่ายนวัตกรรมในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งจัดโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)   หรือ NIA นำโดย ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)  ดร.สุรอรรถ ศุภจัตุรัส รองผู้อำนวยการด้านเศรษฐกิจและสังคม เเละ นายชาญวิทย์ รัตนราศรี ผู้อำนวยการฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรม  เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนานวัตกรรมในพื้นที่ภาคเหนือ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566 ณ ห้องประชุม     Win Chill โรงแรม วินทรี ซิตี้ รีสอร์ท เชียงใหม่  การจัดประชุมเครือข่ายนวัตกรรมพื้นที่ภาคเหนือครั้งนี้มีหน่วยงานเครือข่ายนวัตกรรมในพื้นที่จ.เชียงใหม่ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และสมาคม เข้าร่วมประชุมมากกว่า 10 หน่วยงาน โดยได้รับเกียรติจากผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานเครือข่ายเข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ภาคเหนือ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จังหวัดเชียงใหม่ หอการค้า จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ YEC หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สภาอุตสาหกรรม จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (สาขาภาคเหนือตอนบน) และหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation Driving Unit) ประจำพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ทั้งนี้ ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้กล่าวถึงบทบาทของ NIA ในการเป็น Focal Conductor: ผู้กำหนดทิศทางนวัตกรรม และแนวทางการดำเนินงาน ของ สนช. ในปี พ.ศ. 2567 - 2571 ที่มีพันธกิจหลัก 3 พันธกิจ ในการสร้างและส่งเสริมระบบนวัตกรรมแห่งชาติ สร้างโอกาสในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์โครงการสร้างพื้นฐานนวัตกรรม และ ยกระดับทักษะและขีดความสามารถทางนวัตกรรมของกลุ่มเป้าหมาย และมี 5 เป้าหมายหลักในการดำเนินงาน ประกอบด้วย การสร้างเชื่อมโยงแพลตฟอร์มพัฒนา IBEs การสร้างนวัตกรและ IBEs ผ่าน NIA Academy การสร้างระบบนวัตกรรมไทยและ Innovation Ecosystem ให้เข้มแข็ง การยกระดับนวัตกรรมไทยในดัชนีนวัตกรรมโลก และปรับบทบาท NIA ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้กลยุทธ์ของสำนักงาน พร้อมกันนี้ ดร.สุรอรรถ ศุภจัตุรัส รองผู้อำนวยการด้านเศรษฐกิจและสังคม ได้พูดถึงกลไกสนับสนุนด้านการเงินรูปแบบใหม่ ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ที่มุ่งเน้นการสนับสนุนนวัตกรรมให้สามารถขยายผลเชิงพาณิชย์มากยิ่งขึ้นภายในงานได้เปิดเวทีให้หน่วยงานเครือข่ายนวัตกรรมได้ร่วมเเลกเปลี่ยนบทบาทในการพัฒนานวัตกรรมในพื้นที่ เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานร่วมกันในการพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจนวัตกรรมตลอดจนระบบนิเวศนวัตกรรมในพื้นที่ภูมิภาคเหนือให้เเข็งเเกร่งขึ้นในอนาคต
25 ธันวาคม 2566     |      586
นักศึกษาคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมนำเสนอบทความวิชาการภาษาอังกฤษ ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ The 29th Tri-U International Joint Seminar & Symposium 2023
วันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม 2566นางสาวฐิติพร ศาสตร์ศิริ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาการสื่อสารดิจิทัล คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมนำเสนอบทความวิชาการภาษาอังกฤษ ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ The 29th Tri-U International Joint Seminar & Symposium 2023 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-24 ธันวาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยนำเสนอบทความวิชาการเรื่อง Using Online Social Media to Enhance Digital Health Literacy of Thai Elderly: A Literature Review ผู้แต่ง: นางสาวฐิติพร ศาสตร์ศิริ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร เรืองนภากุล รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งเป็นการทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และข้อเสนอแนะต่อการผลิตสื่อดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสุขภาพของผู้สูงวัย โดยมีนักวิจัยที่ร่วมฟังการนำเสนอซักถามและให้สนใจในการต่อยอดงานวิจัยในประเด็นดังกล่าว
23 ธันวาคม 2566     |      243
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร จัดบูธนิทรรศการ “สื่อสารดิจิทัลเพื่อนวัตกรรมเกษตร อาหาร สุขภาพ และเศรษฐกิจสร้างสรรค์” ใน งานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร จัดบูธนิทรรศการ “สื่อสารดิจิทัลเพื่อนวัตกรรมเกษตร อาหาร สุขภาพ และเศรษฐกิจสร้างสรรค์” ใน งานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี ระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม ถึง 24 ธันวาคม 2566 โดยได้รับความสนใจจากผู้ที่มาเที่ยวงานเข้าร่วมในซุ้มกิจกรรมอย่างคึกคัก อาทิ การจัดแสดงนิทรรศการ“การสื่อสารนวัตกรรมเกษตร อาหาร และสุขภาพ” ,การเลือกชม ช๊อป ชิมผลิตภัณฑ์จากวิสาหกิจชุมชนบ้านแม่ปานสันเกี๋ยง ,ผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่ม,แค๊บหมู,หมูทุบ,หมูเส้น“ในซุ้มเกษตร อาหาร สุขภาพ เพื่อการพัฒนาอาชีพยั่งยืน” รวมทั้งการ อบรมระยะสั้น เพื่อการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม งานสร้างสรรค์การสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ด้านสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล นอกจากนี้ยังมีผลงานภาพยนตร์สั้น SPECIAL PROGRAM & STUDENT FILM จัดฉายในงานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี บริเวณ ลานด้านหน้าคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ตั้งแต่วันที่16 ธันวาคมถึง 24 ธันวาคม 2566 ...#90ปีแม่โจ้#มหาวิทยาลัยแม่โจ้#MJU#แม่โจ้#MaejoUniversity
19 ธันวาคม 2566     |      391
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต้อนรับ ผู้แทนจากกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา ในการหารือความร่วมมือกับย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ (MAID)
เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร เรืองนภากุล รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ในฐานะผู้จัดการแผนงานพิเศษย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมต้อนรับและบรรยายการดำเนินงานย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ (Maejo Agri-Food Innovation District: MAID) ให้แก่ Ms.Nikki Jackson ผู้อำนวยการนโยบายการตลาดระหว่างประเทศ กรมวิชาการเกษตรแห่งเมืองเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ผู้แทนจากกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture; USDA) ซึ่งเดินทางมาหารือความร่วมมือกับย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ (MAID) และศึกษาการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านสัตว์ศาสตร์ เทคโนโลยีชีวภาพ การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การแปรรูปอาหาร และการจัดการของเหลือใช้ทางการเกษตรที่ตอบโจทย์เกษตรอินทรีย์  SDG Goals และ BCG Economy อันเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญในการขับเคลื่อนด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการเกษตร อาหาร สุขภาพ และการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ณ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางการเกษตรสำหรับบัณฑิตผู้ประกอบการ (Agri-Inno) มหาวิทยาลัยแม่โจ้  และนำชมโครงสร้างพื้นฐานภายในย่านนวัตกรรมฯ เช่น ห้องปฏิบัติการสารสกัด และโรงงานนำร่องการแปรรูปอาหาร เป็นต้น
1 ธันวาคม 2566     |      393
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มอบโล่ และใบประกาศเกียรติคุณ เพื่อแสดงความยินดีกับบุคลากรดีเด่นของคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ประจำปี 2566
เมื่อวันพุธที่ 29 พฤศจิกายน 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ ชัยพิบูลย์ คณบดีคณะสารสนเทศและการสื่อสาร มอบโล่ และใบประกาศเกียรติคุณ เพื่อแสดงความยินดีกับบุคลากรดีเด่นของคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ประจำปี 2566 โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานของบุคลากรคณะสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับในปี 2566 มีบุคลากรได้รับโล่รางวัล และใบประกาศเกียรติคุณ จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์กริ่งกาญจน์ เจริญกุล ได้รับการคัดเลือกเป็น บุคลากรสายวิชาการดีเด่น ด้านบริการวิชาการ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ประจำปี พ.ศ.2566 , อาจารย์ ดร.สุจิตรา แก้วสีนวล ได้รับการคัดเลือกเป็น บุคลากรสายวิชาการดีเด่น ด้านการวิจัยและนวัตกรรม คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ประจำปี พ.ศ.2566 และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร เรืองนภากุล ได้รับการคัดเลือกเป็น บุคลากรสายวิชาการดีเด่น ด้านการเรียนการสอน คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ประจำปี พ.ศ.2566 ณ ห้องประชุม IC 103 อาคาร 75 ปีแม่โจ้ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
12 ธันวาคม 2566     |      5561
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร เรืองนภากุล รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เป็นผู้แทนร่วมงานแถลงข่าว “งานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร | อาหาร | สุขภาพ ” ณ ลานโปรโมชั่น 2 ชั้น 1 เซนทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่ โดยมีนักศึกษาจากสโมสรนักศึกษาคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมด้วย
วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ ชัยพิบูลย์ คณบดีคณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มอบหมายให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร เรืองนภากุล รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เป็นผู้แทนร่วมงานแถลงข่าว “งานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร | อาหาร | สุขภาพ ” ณ ลานโปรโมชั่น 2 ชั้น 1 เซนทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่ โดยมีนักศึกษาจากสโมสรนักศึกษาคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมด้วย พร้อมนับถอยหลังงานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร | อาหาร | สุขภาพ วันที่ 16-24 ธันวาคม นี้ ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยคณะสารสนเทศและการสื่อสาร จะร่วมจัดนิทรรศการย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ (Maejo Agri-Food Innovation District) จัดกิจกรรมหนังสั้นเพื่อส่งเสริมการใช้ soft power ในการขับเคลื่อนสังคม และจัดแสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์จากโครงการบริการวิชาการของคณะ ขอเชิญชวนทุกท่านเที่ยวงานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร | อาหาร | สุขภาพ ซึ่งมีกิจกรรมมากมายและเวทีบันเทิงตลอดทั้ง 9 วัน และด้วยพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเปิดงานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี ในวันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม 2566 เวลา 14.00 น. ขอเชิญชวนพสกนิกรทุกหมู่เหล่าได้ร่วมเฝ้ารับเสด็จในโอกาสนี้อย่าลืม 16 – 24 ธันวาคม 2566 นี้ พบกับ งานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร | อาหาร | สุขภาพ อย่างยิ่งใหญ่ ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่
30 พฤศจิกายน 2566     |      565
รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผ่านการอบรมและได้รับใบประกาศนียบัตร Innovation Management Professional (IOM-Certified Program): นักบริหารนวัตกรรมองค์กร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร เรืองนภากุล รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผ่านการอบรมและได้รับใบประกาศนียบัตร Innovation Management Professional (IOM-Certified Program): นักบริหารนวัตกรรมองค์กร โดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) & TRIS ซึ่งมีการพัฒนาทักษะและความรู้ด้านการจัดการองค์กรที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม แนวคิด 3 Horizons of growth การพัฒนานวัตกรและความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนานวัตกรรมภายใต้ความท้าทายเชิงพาณิชย์ การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา และการสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาองค์กรนวัตกรรม
9 พฤศจิกายน 2566     |      455
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมพิธีวางพวงมาลาสักการะอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ ดร. วิภาต บุญศรี วังซ้าย เนื่องในวัน “วิภาต บุญศรี วังซ้าย” เ
วันที่ 30 ตุลาคม 2566 คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมพิธีวางพวงมาลาสักการะอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ ดร. วิภาต บุญศรี วังซ้าย ในวัน “วิภาต บุญศรี วังซ้าย” เพื่อรำลึกถึงพระคุณของ ศาสตราจารย์ ดร. วิภาต บุญศรี วังซ้าย นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์กริ่งกาญจน์ เจริญกุล รองคณบดีฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพการศึกษา พร้อมคณาจารย์ และบุคลากร เข้าร่วม ณ บริเวณหน้าอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ ดร. วิภาต บุญศรี วังซ้าย สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้
30 ตุลาคม 2566     |      929
ผลงานนักศึกษาสาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล ที่ชนะการประกวดคลิปวีดิโอส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมได้รับการเผยแพร่ทางโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
ผลงาน “สลากย้อมแห่งเมืองหละปูนประเพณีหนึ่งเดียวในโลก” โดย 1. นายจิราวัฒน์ โพธิ์นา 2. นางสาววราภรณ์ เวชรัตน์ 3. นางสาววิชญดา อินทะวัง 4. นายอิทธิพล รอดบุตร 5. นายเอกลักษณ์ กันทะวงค์ 6. นายญาณวิทย์ นิมสนธินักศึกษาสาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล ชั้นปีที่ 2 ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดคลิป วิดีโอ ของกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ม.แม่โจ้ ได้รับการเผยแพร่ผ่านรายการนักข่าวพลเมือง ทางโทรทัศน์ช่องไทยพีบีเอส https://fb.watch/nZLVxqVf6V/?mibextid=Nif5oz
30 ตุลาคม 2566     |      1376
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เปิดเวทีโชว์ศักยภาพ 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีชีวภาพตั้งเป้าพลิกโฉมภาคเกษตรไทย ในงาน AgBioTech Incubation 2023 Demo Day
 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และเครือข่ายหน่วยงานพันธมิตรทั้งย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ สถาบันนวัตกรรมเกษตรเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และภาคีเครือข่ายชีววิทยาสังเคราะห์ หรือ SynBio Consortium เปิดเวทีเป็นครั้งแรกให้ 10 สตาร์ทอัพสายเกษตรที่ผ่านการบ่มเพาะและพัฒนาศักภาพอย่างเข้มข้นตลอดระยะเวลา 4 เดือน ภายใต้โครงการ AgBioTech Incubation 2023 ซึ่งเป็นโปรแกรมการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติที่เฉพาะเจาะจงสำหรับสตาร์ทอัพสายเกษตรด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ผนวกความร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรชั้นนำและที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ด้วยการลงมือปฏิบัติทดสอบแนวคิดและสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบเพื่อแก้โจทย์ปัญหาในภาคการเกษตรของประเทศ สร้างให้เกิดสตาร์ทอัพสายเกษตรรายใหม่ในระบบนิเวศ ก่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้า เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรไทยได้อย่างยั่งยืน โดยมี 10 ทีมสตาร์ทอัพที่ผ่านการคัดเลือกมานำเสนอรูปแบบธุรกิจของผลิตภัณฑ์และบริการ ได้แก่ So Mush:การผลิตเชื้อเห็ดบริสุทธิ์แบบน้ำ MYCO GARDEN HOME: สารเสริมการเติบโตในพืชเศรษฐกิจมูลค่าสูงและไม้ดอกไม้ประดับจากอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ่า MaxBoost:สารป้องกันเชื้อวิบริโอและเชื้อไวรัสหัวเหลืองจากกลุ่มแอนไทเซนส์เสถียร Pure Plus:หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงด้วยลำแสงไอออนพลังงานต่ำเพื่อยับยั้งและป้องกันเชื้อโรคเหี่ยวเน่าในพืชเศรษฐกิจ Sentech Plus:สารชีวภัณฑ์ป้องกันการติดเชื้อแบบองค์รวมในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจาก Bacteriophages Bio Solution:ควบคุมศัตรูพืชด้วยศัตรูธรรมชาติ Gen- A-Tech:ระบบตรวจสอบเพศของพืชและลักษณะพิเศษด้านการเกษตรด้วย DNA Maker PLANTBIO:การผลิตสารสำคัญเชิงหน้าที่เพื่อใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางด้วยเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเซลล์พืช EverFresh:ผลิตภัณฑ์ไบโอโมเลกุลเปปไทด์สำหรับยืดอายุการเก็บรักษาสินค้าเกษตร และHappy Plant:ไมคอร์ไรซ่าที่มีความบริสุทธิ์สูงจากระบบเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อเพิ่มอัตราการรอดเมื่อปลูกลงดิน การจัดงานครั้งนี้ดำเนินงานโดยคณะสารสนเทศและการสื่อสาร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ณ ศูนย์การศึกษา และฝึกอบรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2566
27 ตุลาคม 2566     |      793
คณบดีคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ
รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ ชัยพิบูลย์ คณบดีคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการเครือข่ายการขับเคลื่อนเทคโนโลยีเชิงลึก ด้านการเกษตร AgBioTech Consortium ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)  สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ  เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2566 ณ ศูนย์การศึกษา และฝึกอบรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยความร่วมมือดังกล่าว สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA และเครือข่ายหน่วยงานพันธมิตรทั้งย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ สถาบันนวัตกรรมเกษตรเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ภาคีเครือข่ายชีววิทยาสังเคราะห์ และภาคีเครือมหาวิทยาลัย 15 แห่งทั่วประเทศ ผนวกความร่วมมือเพื่อทดสอบแนวคิดและสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบภาคการเกษตร ผ่านสตาร์ทอัพสายเกษตรรายใหม่ที่ใช้ทั้งเทคโนโลยีเชิงลึกและเทคโนโลยีชีวภาพเข้าสู่ระบบนิเวศให้มากขึ้น เพื่อนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาประยุกต์ให้เกิดแนวทางใหม่ในการแก้ไขปัญหาภาคการเกษตร
27 ตุลาคม 2566     |      236
กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ร่วมกับ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร จัดพิธีมอบรางวัลการประกวดคลิป VDO สร้างสรรค์สื่อศิลปวัฒนธรรม
รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ ชัยพิบูลย์ คณบดีคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ให้เกียรติเป็นประธานในการกล่าวเปิดพิธีมอบรางวัลการประกวดคลิป VDO สร้างสรรค์สื่อศิลปวัฒนธรรม ซึ่งจัดโดยกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ร่วมกับ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2566 ณ ห้องสตูดิโอโทรทัศน์ ชั้นที่ 1 คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมี นางกัณณิกา ข้ามสี่ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ได้ร่วมมอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะการประกวด คลิป VDO สร้างสรรค์สื่อศิลปวัฒนธรรม ดังนี้การประกวดคลิป VDO หัวข้อ “วิถีชีวิต ชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น”รางวัลชนะเลิศ ทีม ซมปก ม. “ลุงติ๊บช่างตีเหล็กสู้ชีวิต”1. นางสาววชิรญาณ์ กัณฑ์ไตรบัญชร2. นายศรัทธา บุญชัยศรี3. นายศิวกร กุลธิ4. นางสาวสถิตาพร จันทร์งาม5. นายสหรัฐ ทัศนาลัยรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม One night miracles “หัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาบ้านเหมืองกุง”1. นางสาวภูษนิศา ศศินโชติพัส2. นายปรมินทร์ ทุกอย่าง3. นางสาวรัชนก อาริยะ4. นายภานุพงศ์ มณีโชติ5. นางสาวพิมพ์ลภัส สมหนองอ้อ6. นายกรภัทร อินยศ7. นายสุริยกานต์ ณ ป้อมเพชร8. นางสาวเมธินี สุขเกษมรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 (จำนวน 2 รางวัล)ทีมชเวดากอง “จากขี้ช้างสู่การเพิ่มมูลค่าภูมิปัญญาท้องถิ่น”1. นายก้องภพ แจ่มศรี2. นายณัฐนันท์ เมฆสองสี3. นายรัชชานนท์ ส่งสม4. นายรัชภูมิ ฮายาชิ5. นายรุจนโรจน์ อาวาส6. นางสาวศกุนิชญ์ ขัติยา7. นางสาวศิริวรรณ เครือกลัดทีม 5 สหายมะเขือเปราะ “ป่าบงชุมชนจักสาน”1. นางสาวพิมพาภรณ์ ภูคำ2. นายดนัสวิน ชูจรินทร์3. นางสาวรุ่งรวิน สร้อยคำ4. นายสหภพ กันทะอุโมงค์5. นางสาวนิชาภา วงศ์ใหญ่การประกวดคลิป VDO หัวข้อ “อนุรักษ์และสืบสานศิลปะการแสดงพื้นบ้าน”รางวัลชนะเลิศ ทีมพี่กะเทยโปรดักส์ชั่น “โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา”1. นายกฏจีรภัทร ยาสุวรรณ2. นายกฤตนัย ทองหยิบ3. นางสาวชนากานต์ เสือลอย4. นายโชคชัย ลุงสาม5. นางสาวณภัสสรณ์ อิ่นเเก้ว6. นางสาวณัฎฐ์นรี บุญเสงี่ยมรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม โปรดักชั่นคืออะไร “ลมหายใจกลองสะบัดชัย”1. นางสาวจันจิรา บุญโกศล2. นายชวกร คักกันหา3. นายฐานพัฒน์ พรมเอื้อย4. นางสาวณฐภัค มานารัตน์5. นายณัฐพล ไชยลังกา6. นายณัฐวรรต อาภา7. นายทินวุฒิ ใจลึกรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม Thelastone “พ่อครูอินตากับการสืบตำนานขับขานปี่ - ซอ”1. นางสาวจุฑามณี สุทธิบุตร2. นายสิรภพ สาระไชย3. นางสาวรุจิรา พรมจาด4. นางสาวสุภัคชา ทุมมาโต5. นายสุธินันท์ วงค์สุ6. นางสาวอภิชญา ศรีปัญโญ7. นายอภิสิทธิ์ ทองสมบัติ8. นายอัครพนธ์ แสงเหล็กการประกวดคลิป VDO หัวข้อ “อัตลักษณ์ท้องถิ่น ประเพณีและวัฒนธรรม”รางวัลชนะเลิศ ทีมลูกแม่ตุ๊ก “สลากย้อมแห่งเมืองหละปูนประเพณีหนึ่งเดียวในโลก”1. นายจิราวัฒน์ โพธิ์นา2. นางสาววราภรณ์ เวชรัตน์3. นางสาววิชญดา อินทะวัง4. นายอิทธิพล รอดบุตร5. นายเอกลักษณ์ กันทะวงค์6. นายญาณวิทย์ นิมสนธิรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีมอามาตะคันฟิลม์ “พิธีกรรมพุทธาภิเษกล้านนา”1. นายจักรพันธ์ เนินลาด2. นายโชติบัณฑ์ ดีมานพ3. นายธนบดี สมโลก4. นายธวัชชัย ใจปวง5. นายนพรัตน์ วงศ์เสนา6. นายปรเมศ ชิณวงค์รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีมแมวเป้ากรุ๊ป “สักยันต์ล้านนา”1. นางสาวอรทัย กันทะสอน2. นางสาวกมลพรรณ โตเจริญ3. นางสาวอิสรีย์ มาตย์บัญดิษฐ์4. นายสิรวิชญ์ อาทิตย์5. นายจิตบูรพา คำมา
19 ตุลาคม 2566     |      503
ขอเชิญ เข้าร่วมงาน AgBioTech Incubation2023: Demo Day
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA และ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตรขอเชิญเกษตรกร บริษัท ผู้ประกอบการ นักลงทุน และผู้ที่สนใจ เข้าร่วมงาน AgBioTech Incubation2023: Demo Dayพบกับกิจกรรม...??Startup Pitch Showcase : 10 AgBioTech Startups ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพ เปลี่ยนไอเดีย ต่อยอดเป็นธุรกิจ เพื่อแก้ปัญหาให้ภาคเกษตร??พิธีลงนามความร่วมมือ AgBioTech Consortium เพื่อสร้างเครือข่ายการขับเคลื่อนเทคโนโลยีเชิงลึกด้านการเกษตรกว่า 10 สถาบันอุดมศึกษาของไทย ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ?? กิจกรรม Networking สร้างความร่วมมือ ต่อยอดธุรกิจ เปิดรับความร่วมมือ และสร้างโอกาสรับเงินลงทุนเพื่อขยายธุรกิจ          การนำเสนอผลการทำงานจริงของ AgTech Startups ที่ต่อยอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ สู่การสร้างนวัตกรรมสำหรับแก้โจทย์ปัญหาภาคการเกษตรของประเทศ เพื่อเป็นความหวังของภาคการเกษตรไทย เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้า เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร         และพร้อมลุ้นพร้อมส่งกำลังใจให้กับ 10 AgBioTech Startups และร่วมเป็นเครือข่ายพัฒนาระบบนิเวศสตาร์ทอัพด้านการเกษตรไทยร่วมกับเราสนใจร่วมกิจกรรมในวันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม 2566 เวลา 12.00 น. เป็นต้นไป[On-site] ณ ศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่[Online] Facebook LIVE : NIA & MAIDสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่ Link: https://shorturl.asia/FzoM9  หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คุณมณฑา ไก่หิรัญ Tel. 081-372 9163, E-mail: montha@nia.or.th และผศ.ดร. ณภัทร เรืองนภากุล มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Tel. 096-356 2974, E-mail: napat_r@mju.ac.thmmmmmmmmกิจกรรมครั้งนี้ จัดโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเครือข่ายหน่วยงานพันธมิตรทั้งย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ สถาบันนวัตกรรมเกษตรเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และภาคีเครือข่ายชีววิทยาสังเคราะห์ หรือ SynBio Consortium
18 ตุลาคม 2566     |      320
ขอแสดงความยินดี กับนักศึกษาสาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล ที่คว้าทุกรางวัลจากการประกวด คลิป VDO สร้างสรรค์สื่อศิลปวัฒนธรรม จากกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ขอแสดงความยินดี กับนักศึกษาสาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล ที่คว้ารางวัลการประกวด คลิป VDO สร้างสรรค์สื่อศิลปวัฒนธรรม จากกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทุกรางวัลการแข่งขัน จากหัวข้อ “อนุรักษ์และสืบสานศิลปะการแสดงพื้นบ้าน”รางวัลชนะเลิศ ทีมพี่กะเทยโปรดักส์ชั่น “โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา”รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม โปรดักชั่นคืออะไร “ลมหายใจกลองสะบัดชัย”รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม Thelastone “พ่อครูอินตากับการสืบตำนานขับขานปี่ - ซอ”หัวข้อ “อัตลักษณ์ท้องถิ่น ประเพณีและวัฒนธรรม”รางวัลชนะเลิศ ทีมลูกแม่ตุ๊ก “สลากย้อมแห่งเมืองหละปูนประเพณีหนึ่งเดียวในโลก”รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีมอามาตะคันฟิลม์ “พิธีกรรมพุทธาภิเษกล้านนา”รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีมแมวเป้ากรุ๊ป “สักยันต์ล้านนา”หัวข้อ “วิถีชีวิต ชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น”รางวัลชนะเลิศ ทีม ซมปก ม. “ลุงติ๊บช่างตีเหล็กสู้ชีวิต”รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม One night miracles “หัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาบ้านเหมืองกุง”รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 (จำนวน 2 รางวัล)- ทีมชเวดากอง “จากขี้ช้างสู่การเพิ่มมูลค่าภูมิปัญญาท้องถิ่น”- ทีม 5 สหายมะเขือเปราะ “ป่าบงชุมชนจักสาน”พิธีมอบรางวัลจะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม 2566 นี้ โดยผู้แทนจากกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และคณบดีคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ณ ห้อง Studio1 คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ม.แม่โจ้
16 ตุลาคม 2566     |      351
นักศึกษาสาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล จัดแสดงผลงานนิทรรศการ MJU RAY EXHIBITION 2023
เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2566 นักศึกษาชั้นปีที่ 4 และเทียบโอน 2 ปี สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล คณะสารสนเทศและการสื่อสาร จัดแสดงผลงานนิทรรศการ MJU RAY EXHIBITION 2023 ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิริยะ กาญจนคงคา รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและวิเทศสัมพันธ์ ได้รับมอบหมายจากคณบดีคณะสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธานในงาน พร้อมด้วยคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ร่วมงาน ภายในงานประกอบด้วยการจัดนิทรรศการ 3 ส่วน คือโซน RUSTIC เน้นไปทางธรรมชาติ หรือ แนว Outdoor -Earth Tone เป็นหลัก เมื่อคนเข้ามาเดินโซนเราจะให้ความรู้สึกผ่อนคลายสบายๆ โซน INFINITE (adj.) "ไม่มีที่สิ้นสุด"  เปรียบเสมือนความคิดสร้างสรรค์อันไร้ขอบเขต และโซน สุขใจตี้ได้มาแอ่ว แนวงานวัดก็จะนึกถึงความสนุกสนานและสีสันที่มีให้ตลอดทั้งงาน ทั้งอาหารและการละเล่นมีให้เลือกเล่นตลอด เปรียบเสมือนผลงานของนักศึกษาที่มีหลากหลายแนว หลากหลายความชอบ ทั้งโปรดักชั่น แอดเวอร์ไทซิ่ง และกราฟิก งานวัดนั้น นาน ๆ ทีหรือหนึ่งปีก็จะมีหนึ่งครั้ง นอกจากนั้นยังมีการร่วมสนุกลุ้นรับของรางวัลก็มีอีกทั้งยังมี การแสดงโชว์ Cover Dance และ Mini Concert บอกเลยเพียบกับงานนี้ตลอดทั้งวันงาน  สำหรับโครงการ MJU RAY EXHIBITION 2023 เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ส่งเสริมให้นักศึกษาสาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล ชั้นปีที่ 4 และเทียบโอน 2 ปี คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ที่จะสำเร็จการศึกษาได้พัฒนาทักษะทางวิชาชีพการสื่อสารดิจิทัลก่อนออกสู่ตลาดแรงงาน อย่างมีคุณภาพ และเผยแพร่ผลงานนักศึกษาสู่สาธารณะ อันเป็นการสร้างความรับรู้ในศักยภาพของนักศึกษา และบูรณาการการเรียนการสอนในรายวิชาสด 482 นิทรรศการร่วมสมัย ตลอดจนนักศึกษาได้เรียนรู้การจัดนิทรรศการ ณ สถานที่จริง เรียนรู้ในเรื่องการจัดการ การติดตั้ง และ ระเบียบของสถานที่จัดงาน ซึ่งต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบและต้องมีการเตรียมงานล่วงหน้า และเรียนรู้การทำงานเป็นทีม
12 ตุลาคม 2566     |      306
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร จัดกิจกรรมผู้บริหารพบเรา ชาวสื่อสารดิจิทัล ประจำปีการศึกษา 2566 (รอบเดือนตุลาคม)
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร จัดกิจกรรมผู้บริหารพบเรา ชาวสื่อสารดิจิทัล ประจำปีการศึกษา 2566 ประจำเดือนตุลาคม  โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร เรืองนภากุล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์กริ่งกาญจน์ เจริญกุล รองคณบดีคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ให้เกียรติพบปะพูดคุยกับน้องๆ เพื่อให้คำปรึกษา แนะนำการเรียนการสอน แนวทางการพัฒนาของคณะ และรับฟังปัญหา จาก น้องๆ สื่อสารดิจิทัล ชั้นปี 3 เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2566 ณ  ห้อง IC106 อาคาร 75 ปีแม่โจ้ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
10 ตุลาคม 2566     |      440
ขอเชิญชมซิทคอมอารมณ์ดี THE YES SIR : รู้ไว้ใช่เลยที่ทั้ง “สนุก” และ “เข้าใจ” ในการใช้ “สื่อ” รอบตัว
ขอเชิญชมซิทคอมอารมณ์ดี THE YES SIR : รู้ไว้ใช่เลยที่ทั้ง “สนุก” และ “เข้าใจ” ในการใช้ “สื่อ” รอบตัว โดยนักแสดงชั้นนำ และปิดท้ายทุก Episode ด้วยความรู้ด้านการเป็นพลเมืองดิจิทัลและรู้เท่าทันสื่อ โดย ผศ.ดร.ณภัทร เรืองนภากุล รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ปรึกษารายการออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 10.30 น. ทาง McotHD ช่อง 30 และรับชมอีกครั้ง (Re-run) ในวันศุกร์เวลา 10.30 น. ทาง McotHD ช่อง 30 ตลอดเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2566 และทาง Youtube ช่อง ZENSE Entertainment : ZENSE Entertainment
9 ตุลาคม 2566     |      354
คณะสารสนเทศและการสื่อสารร่วมกิจกรรม MJU Car Free Day 2023
วันศุกร์ ที่ 22 กันยายน 2566 คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกิจกรรม MJU Car Free Day 2023 ซึ่งคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ คณะกรรมการสำนักงานสีเขียว (Green office) สำนักงานมหาวิทยาลัย และกองกายภาพและสิ่งแวดล้อม จัดขึ้น โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานเปิดงาน วัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมในครั้งนี้เพื่อร่วมรณรงค์วันปลอดรถสากล หรือ World Car Free Day ลดการใช้รถยนต์บุคคล รถจักรยานยนต์ โดยเดินทางด้วยการใช้จักรยานหรือเดิน ลดการใช้ยานพาหนะที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ลดปัญหามลภาวะทางอากาศและเสียง ปัญหาการจราจร ซึ่งการใช้จักรยานเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เพราะเป็นพาหนะที่ไม่ใช้เชื้อเพลิงใด ๆ อีกทั้งยังส่งผลให้ผู้ปั่นจักรยานมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ไม่สร้างมลพิษในการปล่อยควันพิษ ไม่มีปัญหามลภาวะทางเสียง และเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง รวมถึงให้ทุกหน่วยงานได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 
3 ตุลาคม 2566     |      294
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร จัดโครงการพัฒนาทักษะดิจิทัลเทคโนโลยีและการเป็นผู้ประกอบการในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษา (Start-ups Pitching Grooming)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร เรืองนภากุล รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เป็นตัวแทนคณบดีคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ในการกล่าวเปิดโครงการพัฒนาทักษะดิจิทัลเทคโนโลยีและการเป็นผู้ประกอบการในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษา (Start-ups Pitching Grooming)  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะของนักศึกษาที่จำเป็นต่อการก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพ และร่วมมือกับบริษัท Amazon Global Selling Thailand  มีวิทยากรโดยคุณธเธียร อนุจรพันธ์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท Amazon Global Selling Thailand ที่มีประสบการณ์มากกว่า 10ปี ในภูมิภาคเอเชีย  มาบรรยายให้แก่นักศึกษา เมื่อวันอังคารที่ 12 กันยายน 2566  ณ ห้องประชุมอาคมกาญจนประโชติ อาคารอำนวย ยศสุข
11 ตุลาคม 2566     |      249