คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
Faculty Of Information And Communication

โครงการพัฒนาสตาร์ทอัพด้านการเกษตรที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพในระยะเริ่มต้นธุรกิจ

      โอกาสของการพัฒนาตนเองเป็นที่ปรึกษาเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร (Train the Trainer to be AgBioTech Advisors) มาถึงแล้วโดย  NIA ร่วมกับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ขอเชิญ อาจารย์ นักวิจัย หรือผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร เข้าร่วมหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพที่ปรึกษาเทคโนโลยีด้านการสร้างสตาร์ทอัพด้านการเกษตรที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพ (Train the Trainers to be AgBioTech Advisor) ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมสำคัญในโครงการพัฒนาสตาร์ทอัพด้านการเกษตรที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพในระยะเริ่มต้นธุรกิจ หรือ AgBioTech Incubation 2023

         หลักสูตร AgBioTech Advisor พัฒนาศักยภาพสู่การเป็น “ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีชีวภาพ” เปิดมุมมองความเป็นผู้ประกอบการ เรียนรู้ธุรกิจและสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการสร้างสตาร์ทอัพให้มีทักษะที่จะไปบ่มเพาะสตาร์ทอัพและสร้างระบบนิเวศของการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรในระยะยาวต่อไป ผ่านกระบวนการ Learn - Unlearn - Relearn ให้มีความรู้ความเข้าใจใน 4 มิติ ได้แก่

  1. 1. สร้างความเข้าใจการทำสตาร์ทอัพเกษตรระดับนานาชาติ (Global Startup Mindset)
  2. 2. สร้างแนวคิดและทักษะการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Mindset)
  3. 3. พัฒนาทักษะพื้นฐานและการฝึกฝนสําหรับการให้คำปรึกษาและแนะนำ (Mentoring & Counseling Skill)
  4. 4. สร้างความเข้าใจในการดําเนินการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร (Incubation Management)

      หากคุณพร้อมในการร่วมปั้น AgBioTech Startup ให้เป็นผู้นำการพลิกโฉมภาคเกษตรสู่ความยั่งยืนไปด้วยกัน สมัครเลยตั้งแต่วันนี้ - 15 พ.ค. 66 ทางhttps://forms.gle/7kz1WcorxCjPLkLc8

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

 คุณมณฑา ไก่หิรัญ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ  โทร. 081-372-9163 อีเมล montha@nia.or.th

 

 ผศ.ดร. ณภัทร เรืองนภากุล คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้  โทร. 096-356-2974 อีเมล napat_r@mju.ac.th

#NIA #MaejoUniversity #AgBiotechStartup #AgBiotechIncubation #StartupThailand #AgBioTechAdvisor #สตาร์ทอัพเกษตร

ปรับปรุงข้อมูล : 27/4/2566 11:51:56     ที่มา : คณะสารสนเทศและการสื่อสาร     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 40

กลุ่มข่าวสาร :

ข่าวล่าสุด

คณบดีคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้และมูลนิธิการศึกษาและวัฒนธรรมสัมพันธ์ไทย-นานาชาติ (เอเอฟเอส ประเทศไทย)
วันพุธที่ 24 พฤษภาคม 2566มูลนิธิการศึกษาและวัฒนธรรมสัมพันธ์ไทย-นานาชาติ (เอเอฟเอส ประเทศไทย) นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ ผู้อำนวยการใหญ่ มูลนิธิเอเอฟเอส ประเทศไทย พร้อมคณะเข้าร่วมลงนาม บันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับ #มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี, รองศาสตราจารย์จักรพงษ์ พิมพ์พิมล รองอธิการบดี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิโรจน์ สินณรงค์ ผู้ช่วยอธิการบดี, รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ ชัยพิบูลย์ คณบดี #คณะสารสนเทศและการสื่อสาร, รองศาสตราจารย์ ดร.ระพีพันธ์ แดงตันกี คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล คณบดีวิทยาลัยบริหารศาสตร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนาพร ขันธบุตร คณบดีคณะศิลปศาสตร์ในการนี้ โดยมีผู้ประสานงาน คือ ผู้ช่วยศาสตราจรย์ ดร.ณภัทร เรืองนภากุล รองคณบดีคณะสารสนเทศและการสื่อสาร, อาจารย์ ดร.พิชญ์ จิตต์ภักดี รองคณบดีวิทยาลัยบริหารศาสตร์, อาจารย์ ดร.วินิตรา ลีละพัฒนา รองคณบดีวิทยาลัยนานาชาติ, อาจารย์ ดร.ศรันย์ จันทร์ทะเล รองคณบดีคณะศิลปศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจรย์ ดร.กาญจนา นาคประสม รองคณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรการลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่v        1. เพื่อให้บุคลากรทางการศึกษาสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม (Intercultural Learning) บูรณาการการสอนเข้ากับรายวิชาต่าง ๆ เพื่อมีส่วนช่วยในการส่งเสริมให้นักศึกษามีทักษะด้านความฉลาดทางวัฒนธรรม (CQ: Cultural Intelligence) และก้าวสู่การเป็นพลเมืองโลกที่มีคุณภาพ        2. เพื่อพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาและนักศึกษาให้มีองค์ความรู้และเข้าใจในการเป็นพลเมืองโลกที่มีคุณภาพ ผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ และการเรียนรู้ผ่านประเด็นทางสังคมโลก        3. เพื่อให้บุคลากรทางการศึกษาและนักศึกษาตระหนักในความหลากหลายและความแตกต่างทางวัฒนธรรมในสังคม        ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
26 พฤษภาคม 2566     |      46
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมสืบสานพระพุทธศาสนา จัดกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ทำบุญตักบาตร พร้อมเครื่องสังฆทาน และข้าวสารอาหารแห้งแด่พระภิกษุสงฆ์ เนื่องในโอกาสวันครบรอบการก่อตั้งคณะสารสนเทศและการสื่อสาร
เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2566 คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมสืบสานพระพุทธศาสนา จัดกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ทำบุญตักบาตร พร้อมเครื่องสังฆทาน และข้าวสารอาหารแห้งแด่พระภิกษุสงฆ์ เนื่องในโอกาสวันครบรอบการก่อตั้งคณะสารสนเทศและการสื่อสาร โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี เป็นประธานในพิธี พร้อมทั้งคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และรองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ ชัยพิบูลย์ คณบดีคณะสารสนเทศและการสื่อสาร พร้อมด้วย รองคณบดีคณะสารสนเทศและการสื่อสาร คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมทำบุญตักบาตร พร้อมเครื่องสังฆทาน และข้าวสารอาหารแห้งแด่พระภิกษุสงฆ์ จำนวน 5 รูป ณ ลานสนามหญ้าหน้า อาคาร 75 ปีแม่โจ้ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ก่อนที่พระสงฆ์จะเสวนาธรรม ให้บุคลากร หัวข้อ พระ-ทำ-สร้างสุข ณ.ห้อง ic311 ชั้น 3 อาคาร 75ปีแม่โจ้ คณะสารสนเทศและการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้
23 พฤษภาคม 2566     |      31
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ขอแสดงความยินดีกับ นักศึกษาสาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ จากเวทีการประกวด สื่อVDO สิ่งแวดล้อมเมืองเชียงใหม่ในสายตาคนท้องถิ่น...จากผลงานเรื่อง 'Again'
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ขอแสดงความยินดีกับ นายชลธิศ แก้วเป็ง รหัส 6218102321 และนางสาวจุฑามาศ จอมจันทร์ รหัส 6218102314 นักศึกษาสาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ จากเวทีการประกวด สื่อVDO สิ่งแวดล้อมเมืองเชียงใหม่ในสายตาคนท้องถิ่น...จากผลงานเรื่อง 'Again'  เข้ารับรางวัลในงานประกาศผลฯ เมื่อวันที่ 17 พ.ค.2566 โดยรางวัลชนะเลิศได้รับเงินรางวัลจำนวน 25,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร. จัดโดย #มูลนิธิสื่อประชาธรรม สนับสนุนโดย#กองทุนสิ่งแวดล้อม#สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
25 พฤษภาคม 2566     |      35
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร จัดโครงการ “พัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการองค์การและการปฏิบัติงานของบุคลากร” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร จัดโครงการ “พัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการองค์การและการปฏิบัติงานของบุคลากร”  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566  โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การบริหารจัดการองค์การ การจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติงาน /การใช้เทคโนโลยี สื่อ สารสนเทศ เพื่อการพัฒนา/ การขับเคลื่อนองค์การ/ การพัฒนาชุมชน การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน/ การสร้างผู้ประกอบการ (Start up) รวมทั้งการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เกี่ยวข้องด้านการทำนุ บำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ที่เชื่อมโยงกับการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  โดยรองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ ชัยพิบูลย์ คณบดีคณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากร  ได้เข้าศึกษาเรียนรู้ “EECi” เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีระบบนิเวศนวัตกรรมที่เหมาะสม ช่วยส่งเสริมให้เกิดการทำวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมร่วมกันระหว่างภาครัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย รวมถึงชุมชนในพื้นที่ เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการยกระดับและพัฒนาอุตสาหกรรมเดิม รวมถึงส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ ทั้งในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกและพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังได้เข้าศึกษา ทุ่งโปรงทอง ห้องเรียนธรรมชาติปากน้ำประแส  แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ที่ชาวบ้านได้ช่วยกันดูแลใส่ใจและให้ความสำคัญในระบบนิเวศของป่าชายเลน เพื่อรักษาสมดุลสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาป่าชายเลนผืนที่ใหญ่ที่สุดของจ.ระยอง ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์และศึกษาเรียนรู้ควบคู่กันไป โดยสร้างสะพานเดินศึกษาธรรมชาติ เป็นระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ทุ่งโปรงทอง ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจในเรื่องระบบนิเวศน์ของป่าชายเลน ได้เห็นความสวยงามตามธรรมชาติของ ป่าโกงกาง ไม้โปรง และไม้ริมชายฝั่ง จุดเด่นของบริเวณนี้คือต้นโปรงที่ขึ้นหนาแน่นอยู่เต็มพื้นที่ สะท้อนสีเขียวอ่อนตา จนเรียกว่า เป็นทุ่งโปรงทอง  ระหว่างวันที่ 9-12 พฤษภาคม 2566 ณ จังหวัดระยอง
15 พฤษภาคม 2566     |      53