คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
Faculty Of Information And Communication
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ม.แม่โจ้ ร่วมขับเคลื่อนการรู้เท่าทันดิจิทัล ในงาน Digital Thinkers Forum เวทีนักคิดดิจิทัลครั้งที่ 26
     เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร เรืองนภากุล รองคณบดีฝ่ายวิจัย บริการวิชาการ และวิเทศสัมพันธ์ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ร่วมดำเนินรายการในงาน Digital Thinkers Forum เวทีนักคิดดิจิทัล ครั้งที่ 26 ในประเด็น "เราจะใช้ AI อย่างไรให้สร้างสรรค์และปลอดภัย"  เพื่อความฉลาดเท่าทันในยุคดิจิทัล พร้อมกับเครือข่ายนักคิดดิจิทัลเพื่อสังคมจากองค์กรระดับประเทศและนานาชาติ  เช่น SCBx, กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.), Cofact(ประเทศไทย), สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ, สภาองค์กรของผู้บริโภค, Ztrus,  Thai PBS, สถาบัน change fusion, Friedrich Naumann Foundation for Freedom, The Centre for Humanitarian Dialogue (HD), มายด์ เอไอ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เครือข่ายพลเมืองสร้างสรรค์สังคม (Creative Citizen), TikTok Thailand ที่ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง ข้อมูล เทรนด์ และกิจกรรม เกี่ยวกับใช้ Generative Artificial Intelligence (Generative AI) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ที่ออกแบบมาให้สามารถสร้างเนื้อหาใหม่ๆ ที่คล้ายกับที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นในวงการสื่อสารทั้งในและต่างประเทศ ณ SCBx NEXT TECH ชั้น 4 สยามพารากอน และถ่ายทอดสดผ่านช่อง Thai PBS ทาง Facebook และ Youtube
19 มกราคม 2567     |      795
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมพิธีวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประจำปี 2567
วันพุธที่ 17 มกราคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิริยะ กาญจนคงคา รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและกิจการพิเศษ พร้อมด้วยบุคลากร และนักศึกษาคณะฯ เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมพิธีวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประจำปี 2567 ที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดขึ้น โดยมี นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นำคณะผู้บริหารจังหวัดฯ ส่วนราชการ และประชาชนชาวเชียงใหม่ ร่วมพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะ พร้อมกล่าวคำถวายราชสดุดี เบื้องหน้าพระบรมสาทิสลักษณ์ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เนื่องในวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประจำปี 2567 เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยโดยตลอดรัชสมัยแห่งการครองราชย์ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงเป็นนักการทหาร นักปกครอง นักการทูต และนักปราชญ์ที่กล้าหาญ ชาญชลาด ทรงประดิษฐ์อักษรไทยหรือสายสือไทย อันเป็นต้นกำเนิดของอักษรไทยที่ใช้กันในทุกวันนี้ อีกทั้งพระองค์ยังได้ร่วมกับพระสหายสนิทร่วมน้ำสาบาน คือ พญามังราย และพญางำเมือง ในการพิจารณาทำเลที่ตั้งอันอุดมสมบูรณ์สำหรับสร้างเมืองเชียงใหม่ เพื่อเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนา  ซึ่งเป็นการวางรากฐานแห่งความเจริญไว้ให้แก่ประเทศชาติ และเป็นคุณประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อปวงชนชาวไทย
17 มกราคม 2567     |      145
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมการประชุมรับฟังความก้าวหน้าของการจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้งคัมพานี และโปรแกรมสนับสนุนงานวิจัยในรูปแบบ startup & spinoff
       เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร เรืองนภากุลรองคณบดีฝ่ายวิจัย บริการวิชาการ และวิเทศสัมพันธ์ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร  และผู้จัดการแผนงานพิเศษย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ (Maejo AgriFood Innovation DistrictMAID) และแผนงานพิเศษเมืองนวัตกรรมอาหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (Food Innopolis @ Maejo University) ร่วมให้ข้อมูลโปรแกรมบ่มเพาะของย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ และโปรแกรม Forefood Tech Scout ของ Food Innopolis  ปี 2567 ในการประชุมรับฟังความก้าวหน้าของการจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้งคัมพานี และโปรแกรมสนับสนุนงานวิจัยในรูปแบบ startup & spinoff  ภายใต้โปรแกรมบ่มเพาะ (Incubation) และเร่งรัด (Acceleration) การเป็นผู้ประกอบการ          โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยยศ สัมฤทธิ์สกุล ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานและบรรยายเส้นทางการจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้งคัมพานีของมหาวิทยาลัย ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนการหารายได้ สร้างความมั่นคงยั่งยืนของมหาวิทยาลัยและเสริมความคล่องตัวในการขับเคลื่อนงานวิจัยเชิงพาณิชย์ ซึ่งมีอาจารย์ นักวิจัยและนักศึกษาจากหลากหลายคณะให้ความสนใจร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการพัฒนากลไกดังกล่าว ทั้งนี้ทีมของ Food Innopolis จาก สวทช. จะได้เดินทางมาให้ข้อมูลโปรแกรม Forefood Tech Scout ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในวันที่ 30 มกราคม 2567 นี้
16 มกราคม 2567     |      214
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร เข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขัน กีฬาบุคลากร ประจำปี 2566
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร เข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันกีฬาบุคลากร ประจำปี 2566 วันพุธที่ 27 ธันวาคม 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร เรืองนภากุล รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะสารสนเทศและการสื่อสารพร้อมด้วยบุคลากรคณะสารสนเทศและการสื่อสารเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันกีฬา ประจำปี 2566 จัดโดยสโมสรบุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กิจกรรมการแข่งขันกีฬาบุคลากร มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรในมหาวิทยาลัยได้ออกกำลังกาย มีสุขภาพดี แข็งแรง สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ อันจะเป็นพลังสำคัญต่อการทำงานและพัฒนามหาวิทยาลัยให้ไปสู่เป้าหมาย
4 มกราคม 2567     |      439
10 หน่วยงานเครือข่ายนวัตกรรมในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมประชุมเครือข่ายนวัตกรรมพื้นที่ภาคเหนือ
 ผศ.ดร.ณภัทร เรืองนภากุล รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร /ผู้จัดการแผนงานพิเศษย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ พร้อมด้วย อ.ดร.กัลย์ กัลยาณมิตร ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร และ รศ.ดร.ดวงพร อมรเลิศพิศาล หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางการเกษตรสำหรับบัณฑิตผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยเเม่โจ้  ร่วมประชุมเครือข่ายนวัตกรรมในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งจัดโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)   หรือ NIA นำโดย ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)  ดร.สุรอรรถ ศุภจัตุรัส รองผู้อำนวยการด้านเศรษฐกิจและสังคม เเละ นายชาญวิทย์ รัตนราศรี ผู้อำนวยการฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรม  เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนานวัตกรรมในพื้นที่ภาคเหนือ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566 ณ ห้องประชุม     Win Chill โรงแรม วินทรี ซิตี้ รีสอร์ท เชียงใหม่  การจัดประชุมเครือข่ายนวัตกรรมพื้นที่ภาคเหนือครั้งนี้มีหน่วยงานเครือข่ายนวัตกรรมในพื้นที่จ.เชียงใหม่ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และสมาคม เข้าร่วมประชุมมากกว่า 10 หน่วยงาน โดยได้รับเกียรติจากผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานเครือข่ายเข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ภาคเหนือ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จังหวัดเชียงใหม่ หอการค้า จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ YEC หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สภาอุตสาหกรรม จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (สาขาภาคเหนือตอนบน) และหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation Driving Unit) ประจำพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ทั้งนี้ ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้กล่าวถึงบทบาทของ NIA ในการเป็น Focal Conductor: ผู้กำหนดทิศทางนวัตกรรม และแนวทางการดำเนินงาน ของ สนช. ในปี พ.ศ. 2567 - 2571 ที่มีพันธกิจหลัก 3 พันธกิจ ในการสร้างและส่งเสริมระบบนวัตกรรมแห่งชาติ สร้างโอกาสในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์โครงการสร้างพื้นฐานนวัตกรรม และ ยกระดับทักษะและขีดความสามารถทางนวัตกรรมของกลุ่มเป้าหมาย และมี 5 เป้าหมายหลักในการดำเนินงาน ประกอบด้วย การสร้างเชื่อมโยงแพลตฟอร์มพัฒนา IBEs การสร้างนวัตกรและ IBEs ผ่าน NIA Academy การสร้างระบบนวัตกรรมไทยและ Innovation Ecosystem ให้เข้มแข็ง การยกระดับนวัตกรรมไทยในดัชนีนวัตกรรมโลก และปรับบทบาท NIA ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้กลยุทธ์ของสำนักงาน พร้อมกันนี้ ดร.สุรอรรถ ศุภจัตุรัส รองผู้อำนวยการด้านเศรษฐกิจและสังคม ได้พูดถึงกลไกสนับสนุนด้านการเงินรูปแบบใหม่ ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ที่มุ่งเน้นการสนับสนุนนวัตกรรมให้สามารถขยายผลเชิงพาณิชย์มากยิ่งขึ้นภายในงานได้เปิดเวทีให้หน่วยงานเครือข่ายนวัตกรรมได้ร่วมเเลกเปลี่ยนบทบาทในการพัฒนานวัตกรรมในพื้นที่ เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานร่วมกันในการพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจนวัตกรรมตลอดจนระบบนิเวศนวัตกรรมในพื้นที่ภูมิภาคเหนือให้เเข็งเเกร่งขึ้นในอนาคต
25 ธันวาคม 2566     |      604
นักศึกษาคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมนำเสนอบทความวิชาการภาษาอังกฤษ ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ The 29th Tri-U International Joint Seminar & Symposium 2023
วันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม 2566นางสาวฐิติพร ศาสตร์ศิริ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาการสื่อสารดิจิทัล คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมนำเสนอบทความวิชาการภาษาอังกฤษ ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ The 29th Tri-U International Joint Seminar & Symposium 2023 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-24 ธันวาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยนำเสนอบทความวิชาการเรื่อง Using Online Social Media to Enhance Digital Health Literacy of Thai Elderly: A Literature Review ผู้แต่ง: นางสาวฐิติพร ศาสตร์ศิริ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร เรืองนภากุล รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งเป็นการทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และข้อเสนอแนะต่อการผลิตสื่อดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสุขภาพของผู้สูงวัย โดยมีนักวิจัยที่ร่วมฟังการนำเสนอซักถามและให้สนใจในการต่อยอดงานวิจัยในประเด็นดังกล่าว
23 ธันวาคม 2566     |      272
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร จัดบูธนิทรรศการ “สื่อสารดิจิทัลเพื่อนวัตกรรมเกษตร อาหาร สุขภาพ และเศรษฐกิจสร้างสรรค์” ใน งานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร จัดบูธนิทรรศการ “สื่อสารดิจิทัลเพื่อนวัตกรรมเกษตร อาหาร สุขภาพ และเศรษฐกิจสร้างสรรค์” ใน งานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี ระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม ถึง 24 ธันวาคม 2566 โดยได้รับความสนใจจากผู้ที่มาเที่ยวงานเข้าร่วมในซุ้มกิจกรรมอย่างคึกคัก อาทิ การจัดแสดงนิทรรศการ“การสื่อสารนวัตกรรมเกษตร อาหาร และสุขภาพ” ,การเลือกชม ช๊อป ชิมผลิตภัณฑ์จากวิสาหกิจชุมชนบ้านแม่ปานสันเกี๋ยง ,ผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่ม,แค๊บหมู,หมูทุบ,หมูเส้น“ในซุ้มเกษตร อาหาร สุขภาพ เพื่อการพัฒนาอาชีพยั่งยืน” รวมทั้งการ อบรมระยะสั้น เพื่อการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม งานสร้างสรรค์การสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ด้านสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล นอกจากนี้ยังมีผลงานภาพยนตร์สั้น SPECIAL PROGRAM & STUDENT FILM จัดฉายในงานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี บริเวณ ลานด้านหน้าคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ตั้งแต่วันที่16 ธันวาคมถึง 24 ธันวาคม 2566 ...#90ปีแม่โจ้#มหาวิทยาลัยแม่โจ้#MJU#แม่โจ้#MaejoUniversity
19 ธันวาคม 2566     |      456
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต้อนรับ ผู้แทนจากกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา ในการหารือความร่วมมือกับย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ (MAID)
เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร เรืองนภากุล รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ในฐานะผู้จัดการแผนงานพิเศษย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมต้อนรับและบรรยายการดำเนินงานย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ (Maejo Agri-Food Innovation District: MAID) ให้แก่ Ms.Nikki Jackson ผู้อำนวยการนโยบายการตลาดระหว่างประเทศ กรมวิชาการเกษตรแห่งเมืองเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ผู้แทนจากกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture; USDA) ซึ่งเดินทางมาหารือความร่วมมือกับย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ (MAID) และศึกษาการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านสัตว์ศาสตร์ เทคโนโลยีชีวภาพ การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การแปรรูปอาหาร และการจัดการของเหลือใช้ทางการเกษตรที่ตอบโจทย์เกษตรอินทรีย์  SDG Goals และ BCG Economy อันเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญในการขับเคลื่อนด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการเกษตร อาหาร สุขภาพ และการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ณ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางการเกษตรสำหรับบัณฑิตผู้ประกอบการ (Agri-Inno) มหาวิทยาลัยแม่โจ้  และนำชมโครงสร้างพื้นฐานภายในย่านนวัตกรรมฯ เช่น ห้องปฏิบัติการสารสกัด และโรงงานนำร่องการแปรรูปอาหาร เป็นต้น
1 ธันวาคม 2566     |      445
ทั้งหมด 36 หน้า