คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
Faculty Of Information And Communication
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต้อนรับ ผู้แทนจากกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา ในการหารือความร่วมมือกับย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ (MAID)
เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร เรืองนภากุล รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ในฐานะผู้จัดการแผนงานพิเศษย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมต้อนรับและบรรยายการดำเนินงานย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ (Maejo Agri-Food Innovation District: MAID) ให้แก่ Ms.Nikki Jackson ผู้อำนวยการนโยบายการตลาดระหว่างประเทศ กรมวิชาการเกษตรแห่งเมืองเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ผู้แทนจากกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture; USDA) ซึ่งเดินทางมาหารือความร่วมมือกับย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ (MAID) และศึกษาการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านสัตว์ศาสตร์ เทคโนโลยีชีวภาพ การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การแปรรูปอาหาร และการจัดการของเหลือใช้ทางการเกษตรที่ตอบโจทย์เกษตรอินทรีย์  SDG Goals และ BCG Economy อันเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญในการขับเคลื่อนด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการเกษตร อาหาร สุขภาพ และการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ณ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางการเกษตรสำหรับบัณฑิตผู้ประกอบการ (Agri-Inno) มหาวิทยาลัยแม่โจ้  และนำชมโครงสร้างพื้นฐานภายในย่านนวัตกรรมฯ เช่น ห้องปฏิบัติการสารสกัด และโรงงานนำร่องการแปรรูปอาหาร เป็นต้น
1 ธันวาคม 2566     |      94
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มอบโล่ และใบประกาศเกียรติคุณ เพื่อแสดงความยินดีกับบุคลากรดีเด่นของคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ประจำปี 2566
เมื่อวันพุธที่ 29 พฤศจิกายน 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ ชัยพิบูลย์ คณบดีคณะสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธานในการเปิดโครงการถ่ายทอดแผนสู่การปฏิบัติ ประจำปี โดยมีผู้บริหาร และบุคลากรคณะสารสนเทศและการสื่อสาร เข้าร่วมโครงการ จากนั้นได้มีการมอบโล่ และใบประกาศเกียรติคุณ เพื่อแสดงความยินดีกับบุคลากรดีเด่นของคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ประจำปี 2566 โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานของบุคลากรคณะสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับในปี 2566มีบุคลากรได้รับโล่รางวัล และใบประกาศเกียรติคุณ จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์กริ่งกาญจน์ เจริญกุล ได้รับการคัดเลือกเป็น บุคลากรสายวิชาการดีเด่น ด้านบริการวิชาการ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ประจำปี พ.ศ.2566 , อาจารย์ ดร.สุจิตรา แก้วสีนวล ได้รับการคัดเลือกเป็น บุคลากรสายวิชาการดีเด่น ด้านการวิจัยและนวัตกรรม คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ประจำปี พ.ศ.2566 และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร เรืองนภากุล ได้รับการคัดเลือกเป็น บุคลากรสายวิชาการดีเด่น ด้านการเรียนการสอน คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ประจำปี พ.ศ.2566 ณ ห้องประชุม IC 103 อาคาร 75 ปีแม่โจ้ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
30 พฤศจิกายน 2566     |      242
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร เรืองนภากุล รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เป็นผู้แทนร่วมงานแถลงข่าว “งานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร | อาหาร | สุขภาพ ” ณ ลานโปรโมชั่น 2 ชั้น 1 เซนทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่ โดยมีนักศึกษาจากสโมสรนักศึกษาคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมด้วย
วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ ชัยพิบูลย์ คณบดีคณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มอบหมายให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร เรืองนภากุล รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เป็นผู้แทนร่วมงานแถลงข่าว “งานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร | อาหาร | สุขภาพ ” ณ ลานโปรโมชั่น 2 ชั้น 1 เซนทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่ โดยมีนักศึกษาจากสโมสรนักศึกษาคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมด้วย พร้อมนับถอยหลังงานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร | อาหาร | สุขภาพ วันที่ 16-24 ธันวาคม นี้ ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยคณะสารสนเทศและการสื่อสาร จะร่วมจัดนิทรรศการย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ (Maejo Agri-Food Innovation District) จัดกิจกรรมหนังสั้นเพื่อส่งเสริมการใช้ soft power ในการขับเคลื่อนสังคม และจัดแสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์จากโครงการบริการวิชาการของคณะ ขอเชิญชวนทุกท่านเที่ยวงานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร | อาหาร | สุขภาพ ซึ่งมีกิจกรรมมากมายและเวทีบันเทิงตลอดทั้ง 9 วัน และด้วยพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเปิดงานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี ในวันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม 2566 เวลา 14.00 น. ขอเชิญชวนพสกนิกรทุกหมู่เหล่าได้ร่วมเฝ้ารับเสด็จในโอกาสนี้อย่าลืม 16 – 24 ธันวาคม 2566 นี้ พบกับ งานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร | อาหาร | สุขภาพ อย่างยิ่งใหญ่ ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่
30 พฤศจิกายน 2566     |      304
รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผ่านการอบรมและได้รับใบประกาศนียบัตร Innovation Management Professional (IOM-Certified Program): นักบริหารนวัตกรรมองค์กร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร เรืองนภากุล รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผ่านการอบรมและได้รับใบประกาศนียบัตร Innovation Management Professional (IOM-Certified Program): นักบริหารนวัตกรรมองค์กร โดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) & TRIS ซึ่งมีการพัฒนาทักษะและความรู้ด้านการจัดการองค์กรที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม แนวคิด 3 Horizons of growth การพัฒนานวัตกรและความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนานวัตกรรมภายใต้ความท้าทายเชิงพาณิชย์ การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา และการสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาองค์กรนวัตกรรม
9 พฤศจิกายน 2566     |      355
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมพิธีวางพวงมาลาสักการะอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ ดร. วิภาต บุญศรี วังซ้าย เนื่องในวัน “วิภาต บุญศรี วังซ้าย” เ
วันที่ 30 ตุลาคม 2566 คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมพิธีวางพวงมาลาสักการะอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ ดร. วิภาต บุญศรี วังซ้าย ในวัน “วิภาต บุญศรี วังซ้าย” เพื่อรำลึกถึงพระคุณของ ศาสตราจารย์ ดร. วิภาต บุญศรี วังซ้าย นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์กริ่งกาญจน์ เจริญกุล รองคณบดีฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพการศึกษา พร้อมคณาจารย์ และบุคลากร เข้าร่วม ณ บริเวณหน้าอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ ดร. วิภาต บุญศรี วังซ้าย สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้
30 ตุลาคม 2566     |      878
ผลงานนักศึกษาสาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล ที่ชนะการประกวดคลิปวีดิโอส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมได้รับการเผยแพร่ทางโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
ผลงาน “สลากย้อมแห่งเมืองหละปูนประเพณีหนึ่งเดียวในโลก” โดย 1. นายจิราวัฒน์ โพธิ์นา 2. นางสาววราภรณ์ เวชรัตน์ 3. นางสาววิชญดา อินทะวัง 4. นายอิทธิพล รอดบุตร 5. นายเอกลักษณ์ กันทะวงค์ 6. นายญาณวิทย์ นิมสนธินักศึกษาสาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล ชั้นปีที่ 2 ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดคลิป วิดีโอ ของกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ม.แม่โจ้ ได้รับการเผยแพร่ผ่านรายการนักข่าวพลเมือง ทางโทรทัศน์ช่องไทยพีบีเอส https://fb.watch/nZLVxqVf6V/?mibextid=Nif5oz
30 ตุลาคม 2566     |      1263
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เปิดเวทีโชว์ศักยภาพ 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีชีวภาพตั้งเป้าพลิกโฉมภาคเกษตรไทย ในงาน AgBioTech Incubation 2023 Demo Day
 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และเครือข่ายหน่วยงานพันธมิตรทั้งย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ สถาบันนวัตกรรมเกษตรเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และภาคีเครือข่ายชีววิทยาสังเคราะห์ หรือ SynBio Consortium เปิดเวทีเป็นครั้งแรกให้ 10 สตาร์ทอัพสายเกษตรที่ผ่านการบ่มเพาะและพัฒนาศักภาพอย่างเข้มข้นตลอดระยะเวลา 4 เดือน ภายใต้โครงการ AgBioTech Incubation 2023 ซึ่งเป็นโปรแกรมการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติที่เฉพาะเจาะจงสำหรับสตาร์ทอัพสายเกษตรด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ผนวกความร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรชั้นนำและที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ด้วยการลงมือปฏิบัติทดสอบแนวคิดและสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบเพื่อแก้โจทย์ปัญหาในภาคการเกษตรของประเทศ สร้างให้เกิดสตาร์ทอัพสายเกษตรรายใหม่ในระบบนิเวศ ก่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้า เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรไทยได้อย่างยั่งยืน โดยมี 10 ทีมสตาร์ทอัพที่ผ่านการคัดเลือกมานำเสนอรูปแบบธุรกิจของผลิตภัณฑ์และบริการ ได้แก่ So Mush:การผลิตเชื้อเห็ดบริสุทธิ์แบบน้ำ MYCO GARDEN HOME: สารเสริมการเติบโตในพืชเศรษฐกิจมูลค่าสูงและไม้ดอกไม้ประดับจากอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ่า MaxBoost:สารป้องกันเชื้อวิบริโอและเชื้อไวรัสหัวเหลืองจากกลุ่มแอนไทเซนส์เสถียร Pure Plus:หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงด้วยลำแสงไอออนพลังงานต่ำเพื่อยับยั้งและป้องกันเชื้อโรคเหี่ยวเน่าในพืชเศรษฐกิจ Sentech Plus:สารชีวภัณฑ์ป้องกันการติดเชื้อแบบองค์รวมในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจาก Bacteriophages Bio Solution:ควบคุมศัตรูพืชด้วยศัตรูธรรมชาติ Gen- A-Tech:ระบบตรวจสอบเพศของพืชและลักษณะพิเศษด้านการเกษตรด้วย DNA Maker PLANTBIO:การผลิตสารสำคัญเชิงหน้าที่เพื่อใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางด้วยเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเซลล์พืช EverFresh:ผลิตภัณฑ์ไบโอโมเลกุลเปปไทด์สำหรับยืดอายุการเก็บรักษาสินค้าเกษตร และHappy Plant:ไมคอร์ไรซ่าที่มีความบริสุทธิ์สูงจากระบบเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อเพิ่มอัตราการรอดเมื่อปลูกลงดิน การจัดงานครั้งนี้ดำเนินงานโดยคณะสารสนเทศและการสื่อสาร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ณ ศูนย์การศึกษา และฝึกอบรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2566
27 ตุลาคม 2566     |      679
คณบดีคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ
รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ ชัยพิบูลย์ คณบดีคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการเครือข่ายการขับเคลื่อนเทคโนโลยีเชิงลึก ด้านการเกษตร AgBioTech Consortium ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)  สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ  เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2566 ณ ศูนย์การศึกษา และฝึกอบรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยความร่วมมือดังกล่าว สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA และเครือข่ายหน่วยงานพันธมิตรทั้งย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ สถาบันนวัตกรรมเกษตรเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ภาคีเครือข่ายชีววิทยาสังเคราะห์ และภาคีเครือมหาวิทยาลัย 15 แห่งทั่วประเทศ ผนวกความร่วมมือเพื่อทดสอบแนวคิดและสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบภาคการเกษตร ผ่านสตาร์ทอัพสายเกษตรรายใหม่ที่ใช้ทั้งเทคโนโลยีเชิงลึกและเทคโนโลยีชีวภาพเข้าสู่ระบบนิเวศให้มากขึ้น เพื่อนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาประยุกต์ให้เกิดแนวทางใหม่ในการแก้ไขปัญหาภาคการเกษตร
27 ตุลาคม 2566     |      171
กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ร่วมกับ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร จัดพิธีมอบรางวัลการประกวดคลิป VDO สร้างสรรค์สื่อศิลปวัฒนธรรม
รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ ชัยพิบูลย์ คณบดีคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ให้เกียรติเป็นประธานในการกล่าวเปิดพิธีมอบรางวัลการประกวดคลิป VDO สร้างสรรค์สื่อศิลปวัฒนธรรม ซึ่งจัดโดยกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ร่วมกับ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2566 ณ ห้องสตูดิโอโทรทัศน์ ชั้นที่ 1 คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมี นางกัณณิกา ข้ามสี่ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ได้ร่วมมอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะการประกวด คลิป VDO สร้างสรรค์สื่อศิลปวัฒนธรรม ดังนี้การประกวดคลิป VDO หัวข้อ “วิถีชีวิต ชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น”รางวัลชนะเลิศ ทีม ซมปก ม. “ลุงติ๊บช่างตีเหล็กสู้ชีวิต”1. นางสาววชิรญาณ์ กัณฑ์ไตรบัญชร2. นายศรัทธา บุญชัยศรี3. นายศิวกร กุลธิ4. นางสาวสถิตาพร จันทร์งาม5. นายสหรัฐ ทัศนาลัยรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม One night miracles “หัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาบ้านเหมืองกุง”1. นางสาวภูษนิศา ศศินโชติพัส2. นายปรมินทร์ ทุกอย่าง3. นางสาวรัชนก อาริยะ4. นายภานุพงศ์ มณีโชติ5. นางสาวพิมพ์ลภัส สมหนองอ้อ6. นายกรภัทร อินยศ7. นายสุริยกานต์ ณ ป้อมเพชร8. นางสาวเมธินี สุขเกษมรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 (จำนวน 2 รางวัล)ทีมชเวดากอง “จากขี้ช้างสู่การเพิ่มมูลค่าภูมิปัญญาท้องถิ่น”1. นายก้องภพ แจ่มศรี2. นายณัฐนันท์ เมฆสองสี3. นายรัชชานนท์ ส่งสม4. นายรัชภูมิ ฮายาชิ5. นายรุจนโรจน์ อาวาส6. นางสาวศกุนิชญ์ ขัติยา7. นางสาวศิริวรรณ เครือกลัดทีม 5 สหายมะเขือเปราะ “ป่าบงชุมชนจักสาน”1. นางสาวพิมพาภรณ์ ภูคำ2. นายดนัสวิน ชูจรินทร์3. นางสาวรุ่งรวิน สร้อยคำ4. นายสหภพ กันทะอุโมงค์5. นางสาวนิชาภา วงศ์ใหญ่การประกวดคลิป VDO หัวข้อ “อนุรักษ์และสืบสานศิลปะการแสดงพื้นบ้าน”รางวัลชนะเลิศ ทีมพี่กะเทยโปรดักส์ชั่น “โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา”1. นายกฏจีรภัทร ยาสุวรรณ2. นายกฤตนัย ทองหยิบ3. นางสาวชนากานต์ เสือลอย4. นายโชคชัย ลุงสาม5. นางสาวณภัสสรณ์ อิ่นเเก้ว6. นางสาวณัฎฐ์นรี บุญเสงี่ยมรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม โปรดักชั่นคืออะไร “ลมหายใจกลองสะบัดชัย”1. นางสาวจันจิรา บุญโกศล2. นายชวกร คักกันหา3. นายฐานพัฒน์ พรมเอื้อย4. นางสาวณฐภัค มานารัตน์5. นายณัฐพล ไชยลังกา6. นายณัฐวรรต อาภา7. นายทินวุฒิ ใจลึกรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม Thelastone “พ่อครูอินตากับการสืบตำนานขับขานปี่ - ซอ”1. นางสาวจุฑามณี สุทธิบุตร2. นายสิรภพ สาระไชย3. นางสาวรุจิรา พรมจาด4. นางสาวสุภัคชา ทุมมาโต5. นายสุธินันท์ วงค์สุ6. นางสาวอภิชญา ศรีปัญโญ7. นายอภิสิทธิ์ ทองสมบัติ8. นายอัครพนธ์ แสงเหล็กการประกวดคลิป VDO หัวข้อ “อัตลักษณ์ท้องถิ่น ประเพณีและวัฒนธรรม”รางวัลชนะเลิศ ทีมลูกแม่ตุ๊ก “สลากย้อมแห่งเมืองหละปูนประเพณีหนึ่งเดียวในโลก”1. นายจิราวัฒน์ โพธิ์นา2. นางสาววราภรณ์ เวชรัตน์3. นางสาววิชญดา อินทะวัง4. นายอิทธิพล รอดบุตร5. นายเอกลักษณ์ กันทะวงค์6. นายญาณวิทย์ นิมสนธิรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีมอามาตะคันฟิลม์ “พิธีกรรมพุทธาภิเษกล้านนา”1. นายจักรพันธ์ เนินลาด2. นายโชติบัณฑ์ ดีมานพ3. นายธนบดี สมโลก4. นายธวัชชัย ใจปวง5. นายนพรัตน์ วงศ์เสนา6. นายปรเมศ ชิณวงค์รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีมแมวเป้ากรุ๊ป “สักยันต์ล้านนา”1. นางสาวอรทัย กันทะสอน2. นางสาวกมลพรรณ โตเจริญ3. นางสาวอิสรีย์ มาตย์บัญดิษฐ์4. นายสิรวิชญ์ อาทิตย์5. นายจิตบูรพา คำมา
19 ตุลาคม 2566     |      225
ขอเชิญ เข้าร่วมงาน AgBioTech Incubation2023: Demo Day
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA และ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตรขอเชิญเกษตรกร บริษัท ผู้ประกอบการ นักลงทุน และผู้ที่สนใจ เข้าร่วมงาน AgBioTech Incubation2023: Demo Dayพบกับกิจกรรม...??Startup Pitch Showcase : 10 AgBioTech Startups ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพ เปลี่ยนไอเดีย ต่อยอดเป็นธุรกิจ เพื่อแก้ปัญหาให้ภาคเกษตร??พิธีลงนามความร่วมมือ AgBioTech Consortium เพื่อสร้างเครือข่ายการขับเคลื่อนเทคโนโลยีเชิงลึกด้านการเกษตรกว่า 10 สถาบันอุดมศึกษาของไทย ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ?? กิจกรรม Networking สร้างความร่วมมือ ต่อยอดธุรกิจ เปิดรับความร่วมมือ และสร้างโอกาสรับเงินลงทุนเพื่อขยายธุรกิจ          การนำเสนอผลการทำงานจริงของ AgTech Startups ที่ต่อยอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ สู่การสร้างนวัตกรรมสำหรับแก้โจทย์ปัญหาภาคการเกษตรของประเทศ เพื่อเป็นความหวังของภาคการเกษตรไทย เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้า เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร         และพร้อมลุ้นพร้อมส่งกำลังใจให้กับ 10 AgBioTech Startups และร่วมเป็นเครือข่ายพัฒนาระบบนิเวศสตาร์ทอัพด้านการเกษตรไทยร่วมกับเราสนใจร่วมกิจกรรมในวันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม 2566 เวลา 12.00 น. เป็นต้นไป[On-site] ณ ศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่[Online] Facebook LIVE : NIA & MAIDสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่ Link: https://shorturl.asia/FzoM9  หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คุณมณฑา ไก่หิรัญ Tel. 081-372 9163, E-mail: montha@nia.or.th และผศ.ดร. ณภัทร เรืองนภากุล มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Tel. 096-356 2974, E-mail: napat_r@mju.ac.thmmmmmmmmกิจกรรมครั้งนี้ จัดโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเครือข่ายหน่วยงานพันธมิตรทั้งย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ สถาบันนวัตกรรมเกษตรเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และภาคีเครือข่ายชีววิทยาสังเคราะห์ หรือ SynBio Consortium
18 ตุลาคม 2566     |      201
ทั้งหมด 32 หน้า